Publication: การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะหลังการเจาะน้ำไขสันหลัง
Issued Date
2561
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 41, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 82-94
Suggested Citation
ลิษา สังฆ์คุ้ม, ประทีป เลิศมงคลอักษร, Lisa Sangkum, Prateep Lertmongkonaksorn การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะหลังการเจาะน้ำไขสันหลัง. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 41, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 82-94. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79506
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะหลังการเจาะน้ำไขสันหลัง
Alternative Title(s)
Management of Post Dural Puncture Headache: An Evidence-Based Approach
Other Contributor(s)
Abstract
อาการปวดศีรษะหลังการเจาะน้ำไขสันหลัง (Post dural puncture headache, PDPH) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยหลังการบริหารยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว ได้แก่ ระยะเวลาการรักษาตัวภายในโรงพยาบาลยาวนานขึ้น ก่อให้เกิดการปวดศีรษะเรื้อรัง หรือมีเลือดออกภายในสมอง โดยอาการแสดงของผู้ป่วยมักมีอาการปวดศีรษะรุนแรงเมื่ออยู่ในท่านั่งหรือยืน และอาการจะบรรเทาลงเมื่อนอนราบ ปัจจุบันมีการศึกษามากมายเกี่ยวกับการรักษาด้วยเทคนิคหรือยาตัวใหม่ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้แก่ การให้ยาโคซินโทรปิน (Cosyntropin) หรือการสกัดกั้นปมประสาท Sphenopalatine (Sphenopalatine ganglion nerve block) ซึ่งให้ผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีและอาจช่วยลดอัตราการบริหารเลือดเข้าสู่ช่องเหนือดูรา (Epidural blood patch, EBP) ซึ่งถือเป็นการรักษาที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือความพร่องทางระบบประสาท บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนกลไกการเกิดโรค เกณฑ์การวินิจฉัยอาการปวดศีรษะหลังการเจาะน้ำไขสันหลัง รวมถึงรวบรวมข้อมูลการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป
Post dural puncture headache (PDPH) is one of the most common adverse events after neuraxial anesthesia. Typical symptoms of PDPH presents with worsening headache within 20 seconds after standing and resolving within 20 seconds of recumbency. PDPH can cause significant morbidity and mortality such as prolonged hospital stay, chronic headache or subdural hematoma. Since lot of treatments, such as cosyntropin or sphenopalatine ganglion block, has been proven to decrease the incidence of PDPH and rate of epidural blood patch (EBP). Therefore, this article aims to review current state of knowledge in this area and proposes an evidence-based practice guidance in term to manage when PDPH occurs.
Post dural puncture headache (PDPH) is one of the most common adverse events after neuraxial anesthesia. Typical symptoms of PDPH presents with worsening headache within 20 seconds after standing and resolving within 20 seconds of recumbency. PDPH can cause significant morbidity and mortality such as prolonged hospital stay, chronic headache or subdural hematoma. Since lot of treatments, such as cosyntropin or sphenopalatine ganglion block, has been proven to decrease the incidence of PDPH and rate of epidural blood patch (EBP). Therefore, this article aims to review current state of knowledge in this area and proposes an evidence-based practice guidance in term to manage when PDPH occurs.