Publication:
ปัจจัยทำนายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในขณะตั้งครรภ์ของสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน

dc.contributor.authorพรนิภา ดีมงคลen_US
dc.contributor.authorปิยะนันท์ ลิมเรืองรองen_US
dc.contributor.authorวรรณา พาหุวัฒนกรen_US
dc.contributor.authorดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสารen_US
dc.contributor.authorPornnipa Deemongkolen_US
dc.contributor.authorPiyanun Limruangrongen_US
dc.contributor.authorWanna Phahuwatanakornen_US
dc.contributor.authorDittakarn Boriboonhirunsarnen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาen_US
dc.date.accessioned2020-12-30T08:36:20Z
dc.date.available2020-12-30T08:36:20Z
dc.date.created2563-12-30
dc.date.issued2563
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของอายุ จำนวนครั้งของการคลอด สถานภาพสมรส การได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน และการเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ของสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนก่อนการตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลศิริราช มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวนทั้งหมด 150 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน และแบบสอบถามการเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัย: อายุ จำนวนครั้งของการคลอด และการได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน สามารถร่วมกันทำนายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ของสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยพบว่า สตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนที่อายุต่ำกว่า 25 ปีเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์เกินเกณฑ์มากกว่าสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี 2.84 เท่า (OR = 2.84; 95%CI = 1.01, 7.95) สตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนที่ไม่เคยผ่านการคลอดเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์เกินเกณฑ์มากกว่าสตรีที่เคยผ่านการคลอดมาแล้ว 2.78 เท่า (OR = 2.78; 95%CI = 1.30, 5.93) และสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนที่ไม่ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์หรือข้อมูลไม่ถูกต้องเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์เกินเกณฑ์มากกว่าสตรีที่ได้รับคำแนะนำและข้อมูลถูกต้อง 3.33 เท่า (OR = 3.33; 95%CI = 1.58, 7.01) สรุปและข้อเสนอแนะ: อายุ จำนวนครั้งของการคลอด และการได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน สามารถทำนายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ของสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนได้ โดยเฉพาะการได้รับคำแนะนำ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรให้คำแนะนำที่ถูกต้อง รวมทั้งส่งเสริมสตรีตั้งครรภ์ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพen_US
dc.description.abstractPurpose: To investigate the predictive power of age, parity, marital status, advice about overweight and obesity, and access to healthy food on gestational weight gain in overweight and obese pregnant women. Design: Predictive research design. Methods: The sample consisted of 150 overweight and obese postpartum mothers who had antenatal care and gave birth at Siriraj Hospital. Data were collected by using a demographic information questionnaire, the receiving advice about overweight and obesity questionnaire, and the access to healthy food questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and logistic regression. Main findings: Age, parity and advice about overweight and obesity could predict gestational weight gain of overweight and obese women with statistical significance (p < .05). It was found that overweight and obese women aged under 25 years were 2.84 times more likely to have excessive weight gain than those aged 25-34 years (OR = 2.84; 95%CI = 1.01, 7.95). In addition, overweight and obese nulliparous women were 2.78 times more likely to have excessive weight gain than those who used to give birth before (OR = 2.78; 95%CI = 1.30, 5.93) and overweight and obese women who did not receive advice about gestational weight gain or received incorrect information were 3.33 times more likely to have excessive weight gain than those who received the advice with correct information (OR = 3.33; 95%CI = 1.58, 7.01). Conclusion and recommendations: Age, parity and advice about overweight and obesity were able to predict the gestational weight gain of overweight and obese women. In particular, receiving advice, particularly when healthcare providers offer correct advice and promote appropriate healthy food consumption during pregnancy.en_US
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนบางส่วนจากสมาคมเวชศาสตร์ปริกำเนิดแห่งประเทศไทยen_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 38, ฉบับที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2563), 46-58en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60623
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์en_US
dc.subjectภาวะอ้วนen_US
dc.subjectภาวะอ้วนen_US
dc.subjectน้ำหนักเกินen_US
dc.subjectหญิงตั้งครรภ์en_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.subjectgestational weight gain
dc.subjectobesity
dc.subjectoverweight
dc.subjectpregnant women
dc.titleปัจจัยทำนายน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในขณะตั้งครรภ์ของสตรีที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนen_US
dc.title.alternativePredictive Factors of Gestational Weight Gain in Overweight and Obese Womenen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/240172

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-piyanun-2563.pdf
Size:
250.7 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections