Publication: ประสบการณ์การทำงานของพยาบาลคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Issued Date
2565
Resource Type
Language
tha
ISSN
2672-9784 (Online)
0858-9739 (Print)
0858-9739 (Print)
Journal Title
รามาธิบดีพยาบาลสาร
Volume
28
Issue
3
Start Page
400
End Page
414
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 28, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565), 400-414
Suggested Citation
นิภาวรรณ ศรีโยหะ, ชลทิชา ต๋าอ่อน, Nipawan Sriyoha, Chonthicha Taaon ประสบการณ์การทำงานของพยาบาลคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 28, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565), 400-414. 414. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98935
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ประสบการณ์การทำงานของพยาบาลคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Author's Affiliation
Abstract
การวิจัยเชิงคุุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายและประสบการณ์การทำงานของพยาบาลคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลระดับตติยภููมิ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาของฮัสเซิล ผู้ให้ข้อมููลเป็นพยาบาลคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 11 ราย ที่มีความสมัครใจในการเป็นกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงจากโรงพยาบาลรัฐบาลระดับตติยภูมิ 1 แห่งในกรุุงเทพมหานคร เก็บข้อมููลโดยสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและการบันทึกภาคสนามนำข้อมูลการสัมภาษณ์มาถอดข้อมูลแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของโคไลซี ผลการวิจัยพบว่า การให้ความหมายการทำงานคัดกรองผู้มีคว ามเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) คือหน้าที่ต้องทำ และ 2) ด่านหน้าในการซักประวัติประเมินความเเสี่ยงเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการตรวจที่เหมาะสม ประสบการณ์การทำงานของพยาบาลคัดกรองโรคโควิด-19ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก คือ 1) กระบวนการทำงานเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์การระบาด 2) ปัญหาที่ต้องเผชิญ 3) การจัดการกับปัญหา และ 4) ผลกระทบจากการทำงานมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ผลการศึกษานี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจเเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของ
พยาบาลคัดกรองโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่พยาบาลและทีม สหสาขาวิชาชีพในการส่งเสริมการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีคุณภาพและเหมาะสม
Description
The purpose of this qualitative research was to explain the meaning and working experience of screening nurses for COVID-19 in a tertiary care hospital. The Husserlian phenomenology method was applied to conduct this study. A purposive sample included 11 nurses who worked on screening for COVID-19 in one government tertiary care hospital in Bangkok. In-depth interviews with tape-recorded, observation,and field notes were performed to collect data. Audio tapes of the interviews were transcribed verbatim. Data were analyzed using Colaizzi’s method. The findings indicated that the meanings of working experience of screening nurses for COVID-19 in tertiary care hospital consisted of two major themes: 1) It is the duty to do, and 2) Being at the forefront of history taking and risk assessment so that the service recipient receives an appropriate examination. Working experience of the screening nurses for COVID-19 in the tertiary care hospital consisted of four major themes: 1) The work process changes according to the epidemic situation, 2) Problems to face, 3) Problems management,and 4) The impact of work has both positive and negative aspects. The results of this study provides an understanding of working experience of screening nurses for COVID-19 in a tertiary care hospital. The results of this study provide information for nurses and the multidisciplinary team in promoting quality and appropriate screening for people at risk of COVID-19.