Publication: การประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคมเพื่อการเรียนรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร
dc.contributor.author | จีราวรรณ ประทุมมาศ | en_US |
dc.contributor.author | มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ | en_US |
dc.contributor.author | นิรัตน์ อิมามี | en_US |
dc.contributor.author | มลินี สมภพเจริญ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ภาควิชาการจัดการสุขภาพ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-14T04:47:42Z | |
dc.date.available | 2022-07-14T04:47:42Z | |
dc.date.created | 2565-07-14 | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.description.abstract | การบริโภคอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคมเพื่อการเรียนรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 40 คนเท่ากัน ระยะเวลาการทดลองรวม 9 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการบรรยายให้ความรู้ การเล่นเกมเลือกและจัดอาหารสุขภาพ กิจกรรมระดมสมอง การฝึกปฏิบัติทำอาหารอย่างง่าย การเรียนรู้จากตัวแบบที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการสอนจากหลักสูตรปกติของโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ การรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการถูกต้องเพิ่มขึ้นมากกว่ากว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคมในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิผลทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสมเพิ่มขึ้น ดังนั้น สถานศึกษาและสถานบริการสุขภาพสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และนักเรียนนักศึกษาในกลุ่มที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกันได้ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม และส่งผลให้มีสุขภาพดี | en_US |
dc.description.abstract | Healthy food consumption is beneficial for body’s growth and health status. This quasi-experimental research was aimed to study of the effects of the application of social cognitive theory for healthy food consumption learning. The samples were consisted of 80 grade 8 students, 40 students in each of the experimental and the comparison groups. The experimentation was lasted for 9 weeks. The experimental group had participated in the healthy food consumption promotion program composing of the learning activities by: giving the lecture for enhancing knowledge about healthy food consumption; educational games for selecting and catering healthy food, brainstorming, practicing of easy and simple food preparation, and learning from the models who consumed healthy food. For the comparison the sampled students received the normal instructional activities of the school. Data collection was done by using questionnaire and data analysis was done by computing statistics in regard to frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, Paired t-test and Independent t-test. The research results showed that after participated in the program the experimental group had significantly higher levels of knowledge about healthy food consumption, perceived self-efficacy to consume healthy food, and appropriate healthy food consumption behavior than before the experimentation and than the comparison group (p<0.05). In conclusion, the healthy food consumption promotion program applying the Social Cognitive Theory in designing the learning activities was effective in increasing knowledge and perceived self-efficacy to consume healthy food, and had appropriate food consumption behaviors of grade 8 students. Therefore, educational institutions and health service organizations can apply this program for organizing learning activities on healthy food consumption for secondary school students and other group of students who have similar characteristics as of the sampled grade 8 students in order to promote appropriate food consumption behavior for student’s better health. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 43, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2563), 48-60 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72134 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ทฤษฎีปัญญาสังคม | en_US |
dc.subject | การบริโภคอาหารสุขภาพ | en_US |
dc.subject | นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 | en_US |
dc.title | การประยุกต์ทฤษฎีปัญญาสังคมเพื่อการเรียนรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | The Application of Social Cognitive Theory for Healthy Food Consumption Learning of Grade 8 Students in Bangkok | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/236776 |