Publication:
ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด จังหวัดสุราษฏร์ธานี

dc.contributor.authorวินิตตา ลาสศิลป์en_US
dc.contributor.authorมณฑา เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorธราดล เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorศรัณญา เบญจกุลen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2022-07-14T15:50:24Z
dc.date.available2022-07-14T15:50:24Z
dc.date.created2565-07-14
dc.date.issued2563
dc.description.abstractการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคเรื้อรังโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่จำนวนมาก การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มชนิดวัดก่อนและหลัง มุ่งพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการช่วยเลิกบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 35 คน กิจกรรม 7 ครั้ง ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ เป็นกิจกรรมกลุ่มในวันที่ 1, 3 และ 7 ของสัปดาห์ที่ 1 จากนั้นจะเป็นการเยี่ยมบ้านและการติดตามโดยผู้วิจัยและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 4 และระยะติดตามในสัปดาห์ที่ 12 ทดสอบความแตกต่างของผลลัพธ์ด้วยสถิติ Chi–square test, Independent t–test, Paired t–test และ Z–test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และโรคหัวใจและหลอดเลือด การรับรู้ความสามารถตนเองของการเลิกสูบบุหรี่ ความคาดหวังในผลดีของการเลิกสูบบุหรี่ ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และเมื่อติดตามการเลิกสูบบุหรี่ของกลุ่มทดลอง พบว่า หลังการทดลองเลิกบุหรี่ได้ 13 คน (ร้อยละ 54.17) และระยะติดตามเลิกบุหรี่ได้ 15 คน (ร้อยละ 62.50) สรุปว่าโปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมสามารถช่วยเลิกบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ สถานบริการสาธารณสุขในทุกระดับควรอย่างยิ่งที่จะนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในคลินิกโรคเรื้อรังและการให้บริการเชิงรุกเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในชุมชนen_US
dc.description.abstractSmoking is high-risk behavior to non-communicable diseases (NCD), especially stroke that kills many smokers. This quasi-experimental design, two groups with pretest and posttest design aimed to develop cessation program applying Self-Efficacy Theory and Social Support for helping stroke patients in Surat Thani province to quit smoking. This research was in 24 experimental samples and 35 comparison samples. Program and activities composed of seven times within 8 weeks, which were group activities at week 1, 3 and 7. Then home visit and follow up by researcher and village health volunteer (VHV). Data were collected by interview questionnaire three times; before the experiment, after the experiment at the 4th week and follow up period at the 12th week. Data were analyzed the data difference by Chi-square test, Independent t-test, Paired t-test and Z–test. The results after the experiment showed that the experimental group had a mean score of knowledge about cigarette and stroke, self-efficacy of smoking quit, and outcome expectation of smoking quit, higher than before experiment and comparative group significantly (p<0.001). For successful quitter, after the experiment, there were 13 quitters (54.17%), and at follow up period quitters have increased to 15 quitters (62.50%). This study recommends that the health education program applying self-efficacy theory and social support can help stroke patients quit smoking effectively so that all level of NCD clinic should routinize this cessation program in their service.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 43, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2563), 134-149en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72144
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่en_US
dc.subjectทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองen_US
dc.subjectกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและ หลอดเลือดen_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด จังหวัดสุราษฏร์ธานีen_US
dc.title.alternativeEffects of The Smoking Cessation Program Applying Self-Efficacy and Social Support on Risk Group of Cardiovascular Disease at Surat Thani Provinceen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/233760

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-mondha-2563.pdf
Size:
570.9 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections