Publication: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนของนักศึกษาพยาบาล
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
ISSN
0858-9739 (Print)
2672-9784 (Online)
2672-9784 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 21, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2558), 244-258
Suggested Citation
ธัชมน สินสูงสุด, นพวรรณ เปียซื่อ, Thachamon Sinsoongsud, Noppawan Piaseu ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 21, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2558), 244-258. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47977
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะกระดูกพรุนของนักศึกษาพยาบาล
Alternative Title(s)
Factors Predicting Preventive Behavior for Osteoporosis in University Students
Abstract
การศึกษาแบบบรรยายเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความเชื่อมั่น
ในตนเองที่จะปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนและพฤติกรรมการป้องกัน
โรคกระดูกพรุนของนักศึกษาพยาบาลและ 2)ศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูก
พรุนของนักศึกษาพยาบาล ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 746 ราย เก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ประกอบด้วย
แบบสอบถามความเชื่อมั่นในตนเองที่จะปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ
สถิติอ้างอิง ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 98.30) อายุ
เฉลี่ย 19.86 ± 1.26 ปีมีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
กระดูกพรุนและพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับปานกลางการวิเคราะห์ถดถอย
พหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ความเชื่อมั่นในตนเองที่จะปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
กระดูกพรุนและระดับการศึกษาร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนของนักศึกษา
พยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยสามารถทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันโรค
กระดูกพรุนได้ร้อยละ 35.20 ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดโปรแกรมส่งเสริม
พฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุน โดยเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองของนักศึกษาพยาบาล
ในด้านการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด
โรคกระดูกพรุนและธำรงไว้ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในการป้องกันโรคกระดูกพรุนรวมทั้ง
เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านสุขภาพ
This predictive study aimed to 1) describe self efficacy for risk reduction and preventive behavior for osteoporosis, and 2) examine factors predicting preventive behavior for osteoporosis in nursing students. Through purposive sampling, the sample included 746 nursing students in a university. Data were collected with a self-reported questionnaire on self efficacy and preventive behavior for osteoporosis. Data were analyzed using descriptive and inferential statistics. Results revealed that majority of the students were female (98.30%) with a mean age of 19.86 ± 1.26 years. The students had self efficacy and preventive behavior for osteoporosis at a moderate level. The multiple regression analysis with the stepwise method revealed that self efficacy and the level of education could together predict 35.2% variance in preventive behavior for osteoporosis. Results suggest approaches for managing the program to promote preventive behavior for osteoporosis. Self efficacy could be promoted among nursing students in terms of exercise and dietary calcium intake to reduce risk for osteoporosis and maintain appropriate health behavior in preventing osteoporosis, including becoming role models of healthy behavior.
This predictive study aimed to 1) describe self efficacy for risk reduction and preventive behavior for osteoporosis, and 2) examine factors predicting preventive behavior for osteoporosis in nursing students. Through purposive sampling, the sample included 746 nursing students in a university. Data were collected with a self-reported questionnaire on self efficacy and preventive behavior for osteoporosis. Data were analyzed using descriptive and inferential statistics. Results revealed that majority of the students were female (98.30%) with a mean age of 19.86 ± 1.26 years. The students had self efficacy and preventive behavior for osteoporosis at a moderate level. The multiple regression analysis with the stepwise method revealed that self efficacy and the level of education could together predict 35.2% variance in preventive behavior for osteoporosis. Results suggest approaches for managing the program to promote preventive behavior for osteoporosis. Self efficacy could be promoted among nursing students in terms of exercise and dietary calcium intake to reduce risk for osteoporosis and maintain appropriate health behavior in preventing osteoporosis, including becoming role models of healthy behavior.