Publication:
ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแล เพศ อายุ การรบกวนจากอาการและการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล

dc.contributor.authorคนึงนิจ พงศ์ถาวรกมลen_US
dc.contributor.authorKanaungnit Pongthavornkamolen_US
dc.contributor.authorพิจิตรา เล็กดํารงกุลen_US
dc.contributor.authorPichitra Lekdamrongkulen_US
dc.contributor.authorนพดล ศิริธนารัตนกุลen_US
dc.contributor.authorNoppadol Siritanaratkulen_US
dc.contributor.authorศิวะพร ศิริภูลen_US
dc.contributor.authorSiwaporn Siripoonen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลen_US
dc.date.accessioned2018-08-24T08:00:13Z
dc.date.available2018-08-24T08:00:13Z
dc.date.created2561-08-24
dc.date.issued2559
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแล เพศ อายุ การรบกวนจากอาการ และการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาล รูปแบบการวิจัย: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 50 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการอาการ แบบประเมินอาการที่พบบ่อยในโรคมะเร็ง10 อาการ และแบบประเมินคุณภาพการดูแลในมุมมองของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสหสัมพันธ์สเพียร์แมนและพอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 18-78 ปี เฉลี่ย 47.14 ปี (SD = 14.94) เป็นเพศชายร้อยละ 64.0 อาการด้านร่างกายที่พบมากที่สุด ได้แก่ อาการปากแห้ง (ร้อยละ 54.0) และด้านจิตใจ ได้แก่ กังวล/กลุ้มใจ (ร้อยละ 38.0) ระดับความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลที่กลุ่มตัวอย่างเลือกมากที่สุด (ร้อยละ 34.0) คือ passive-shared และรับรู้คุณภาพการดูแลในระดับดีและดีมาก (ร้อยละ 44 และ 38 ตามลำดับ) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้คุณภาพการดูแลโดยรวมสัมพันธ์กับการรบกวนจากอาการเบื่ออาหาร (r = .318, p < .05) และอาการหงุดหงิด (r = .288, p < .05) เพศหญิงรับรู้คุณภาพการดูแลสูงกว่าเพศชายในด้าน Medical-technical competence (r = .351, p < .05) และด้านPhysical-technical conditions (r = .385, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัยด้านเพศ และการรบกวนจากอาการต่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยมะเร็งซึ่งควรประเมินจากมุมมองของผู้ป่วยเป็นฐานen_US
dc.description.abstractPurpose: To investigate the relationships between patients’ preference for participation in care, gender, age, symptom burden, and perceived quality of care of hematological cancer patients during hospitalization. Design: Descriptive correlational research. Methods: The study sample consisted of 50 hematological cancer patients who were admitted in one university hospital in Bangkok, Thailand. Subjects were recruited by purposive sampling. Data were collected using 1) Demographic and Disease-related Characteristics Questionnaire, 2) The Control Preference Scale, 3) Memorial Symptom Assessment Scale-Global Distress Index, and 4) Quality of care from Patients’ Perspective. Data were analyzed using descriptive statistics, Point Bi-serial, Spearman’s rank correlation. Main findings: Patients’ age ranged from 18 to 78 years (mean = 47.14) and 64.0% were males. The most prevalent physical and psychological symptoms were dry mouth (54.0%) and worry (38.0%) respectively. Approximately one-third of patients (34.0%) preferred adopting a passive-shared role (the doctors and nurses make the decision after considering the patient’s opinion). Subjects perceived quality of care at the level of good and very good (44% and 38% respectively). Perception of quality of care was significantly correlated with distressing symptom of lack of appetite (r = .318, p < .05) and feeling irritable (r = .288, p < .05). Women perceived higher quality of care than men in medicaltechnical competence dimension, (r = .351, p < .05) and physical-technical conditions (r = .385, p < .05) Conclusion and recommendations: Oncology nurses should be aware of gender-related factors and symptom burden on quality of care improvement that must be evaluated on the patient’s perspective. Keywords: quality of care, patient’s preference for participation in care, gender, age, symptom burdenen_US
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษานําร่องของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Deakin University, Australia โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Deakin University’s The Centre for Quality and Patient Safety Researchen_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 34, ฉบับที่ 2 ( เม.ย. - มิ.ย. 2559), 45-57en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/25170
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectคุณภาพการดูแลen_US
dc.subjectความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลen_US
dc.subjectเพศen_US
dc.subjectอายุen_US
dc.subjectการรบกวนจากอาการen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการมีส่วนร่วมในการดูแล เพศ อายุ การรบกวนจากอาการและการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาลen_US
dc.title.alternativeRelationships between Patient’s Preference for Participation in Care, Gender, Age, Symptom Burden, and Perceived Quality of Care of Hematological Cancer Patients during Hospitalizationen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/62015

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-kanaungn-2559.pdf
Size:
212.2 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections