Publication:
การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของเทคนิคการบำบัดความปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในโรงพยาบาลรามาธิบดี

dc.contributor.authorรัฐพล แสงรุ้งen_US
dc.contributor.authorนุช ตันติศิรินทร์en_US
dc.contributor.authorธีรวัฒน์ ชลาชีวะen_US
dc.contributor.authorโฉมชบา สิรินันทน์en_US
dc.contributor.authorวราภรณ์ ไวคกุลen_US
dc.contributor.authorRattaphol Seangrungen_US
dc.contributor.authorNuj Tontisirinen_US
dc.contributor.authorTheerawat Chalacheewaen_US
dc.contributor.authorChomchaba Sirinanen_US
dc.contributor.authorWaraporn Waikakulen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยนเรศวร. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาวิสัญญีวิทยาen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาวิสัญญีวิทยาen_US
dc.date.accessioned2022-09-29T04:28:10Z
dc.date.available2022-09-29T04:28:10Z
dc.date.created2565-09-29
dc.date.issued2556
dc.description.abstractบทนำ: การบำบัดความปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นสิ่งท้าทาย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัวหลายโรค ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีความปวดมากหลังการผ่าตัด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวและการทำกายภาพบำบัด วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของแต่ละเทคนิคในการบำบัดความปวดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในโรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากงานหน่วยระงับปวดเฉียบพลัน โรงพยาบาลรามาธิบดี ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2553 ศึกษาข้อมูลกลุ่มประชากร เทคนิคการระงับความรู้สึก ข้อมูลการผ่าตัด ชนิดและขนาดยาระงับปวดเสริมและเทคนิคการบำบัดความปวดหลังผ่าตัด ได้แก่ การฉีดยาชารอบเส้นประสาท femoral และการหยดยาชาต่อเนื่อง (Continuous femoral nerve analgesia หรือ CFNA) การใช้เครื่องมือให้ยาระงับปวดด้วยตนเองทางหลอดเลือดดำ (PCA) การฉีดมอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลังเสริมกับยา tramadol (SM-T) และการใช้ CFNA ร่วมกับวิธี PCA (CF-PCA) โดยเปรียบเทียบคะแนนความปวดแบบตัวเลข (Numerical rating scale หรือ NRS) คะแนนความพึงพอใจ อุบัติการณ์ของความปวดน้อย (NRS < 4) และผลข้างเคียง ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 191 คน เพศชาย จำนวน 26 คน เพศหญิง จำนวน 165 คน อายุเฉลี่ย 69 ปี ไม่พบความแตกต่างด้านข้อมูลประชากร เทคนิคการระงับความรู้สึกและข้อมูลการผ่าตัด กลุ่ม SM-T ใช้ยา tramadol เสริมมากกว่ากลุ่มอื่น กลุ่ม CFNA และ CF-PCA มีคะแนนความปวดในช่วง 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัดต่ำกว่า [CFNA; 2 (0 - 7), 2 (0 - 5), CF-PCA; 3 (0 - 5), 2 (0 - 4)] กลุ่ม SM-T [4 (0 - 10), 4.5 (0 - 5)] และ PCA [4 (0 - 8), 3 (0 - 6)] (P < 0.05) และพบอุบัติการณ์ของความปวดน้อยในช่วง 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัดสูงกว่า (CFNA; ร้อยละ 79, 94, CF-PCA; 71, 97) กลุ่ม SM-T (ร้อยละ 47, 8) และ PCA (ร้อยละ 39, 78) นอกจากนี้กลุ่ม SM-T มีอุบัติการณ์คลื่นไส้อาเจียนและคันตามตัวสูงสุด ในช่วง 24 ชั่วโมงร่วมกับมีคะแนนความพึงพอใจต่ำสุด (P < 0.05) สรุป: การฉีดยาชารอบเส้นประสาท femoral มีประสิทธิภาพในการบำบัดความปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าดีกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยเมื่อเทียบกับการให้ยาระงับปวดทางหลอดเลือดดำและยามอร์ฟีนทางช่องน้ำไขสันหลังen_US
dc.description.abstractBackground: The pain control after a total knee arthroplasty (TKA) is challenging since most of the patients are elderly, often with multiple comorbidities. This study compared the effectiveness of postoperative pain control after TKA among multiple techniques. Method: A retrospective observational study was conducted involving patients who underwent TKA and had postoperative pain management by Acute Pain Service team in Ramathibodi hospital during January and December 2010. Patients received one of four techniques including continuous femoral nerve analgesia (CFNA), intravenous patient-controlled analgesis (PCA), spinal morphine combined with as needed intravenous tramadol (SM-T), or CFNA combined with PCA (CF-PCA). The effectiveness of pain relief was quantified using numerical rating scale (NRS), the incidence of mild pain (NRS < 4), side effects and patient's satisfaction in 24 and 48 hour after the operation. Results: One hundred and ninety-one patients (26M: 165F), age 69 gif.latex?\pm 8 years old, were enrolled in this study. SM-T group used additional tramadol more than others. CFNA and CF-PCA groups had lower NRS in 24 and 48 hours postoperatively [2 (0 - 7), 2 (0 - 5), 2 (0 - 4)] than SM-T [4 (0 - 10), 4.5 (0 - 5)] and PCA groups [4 (0 - 8), 3 (0 - 6)] (P < 0.05). Percentage of mild pain was highest in CFNA and CF-PCA groups. In addition, SM-T had the most incidence of nausea, vomiting and itching in first 24 hours with the lowest patient's satisfaction (P < 0.05). Conclusion: The femoral nerve analgesia provided better postoperative pain control with fewer side effects when compared to systemic analgesic alone and spinal morphine.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 36, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2556), 109-117en_US
dc.identifier.issn0125-3611 (Print)
dc.identifier.issn2651-0561 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79727
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรen_US
dc.rights.holderภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าen_US
dc.subjectประสิทธิผลการบำบัดปวดหลังผ่าตัดen_US
dc.subjectTotal knee arthroplastyen_US
dc.subjectPostoperative pain controlen_US
dc.subjectThe effectivenessen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของเทคนิคการบำบัดความปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในโรงพยาบาลรามาธิบดีen_US
dc.title.alternativeThe Effectiveness of Postoperative Pain Control After Total Knee Arthroplasty in Ramathibodi Hospital: A Comparison Among Multiple Techniquesen_US
dc.typeOriginal Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/102227/79101

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-nuj-2556.pdf
Size:
5.06 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections