Publication: The Effect of Comfort Program on Satisfaction, Anxiety, and Pain among Patients Receiving Colonoscopy
Issued Date
2017
Resource Type
Language
eng
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
Journal of Nursing Science. Vol.35(Suppl.1), No. 3 (July - September 2017), 71-78
Suggested Citation
Truong Thi Thuy Huong, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, Wallada Chanruangvanich, อรพรรณ โตสิงห์, Orapan Thosingha The Effect of Comfort Program on Satisfaction, Anxiety, and Pain among Patients Receiving Colonoscopy. Journal of Nursing Science. Vol.35(Suppl.1), No. 3 (July - September 2017), 71-78. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44102
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
The Effect of Comfort Program on Satisfaction, Anxiety, and Pain among Patients Receiving Colonoscopy
Alternative Title(s)
ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสุขสบายต่อความพึงพอใจ ความวิตกกังวล และความปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
Abstract
Purpose: To evaluate the effect of comfort program on satisfaction, anxiety, and pain among patients receiving colonoscopy.
Design: A quasi-experiment design.
Methods: The sample was 152 patients both males and females with the age of 18 years and older who received colonoscopy at the Functional Examination Department of Bach Mai Hospital, Hanoi, Vietnam. The sample was divided into control and experimental groups. The comfort program was provided to the experimental group, and the control group received routine care. Data were collected with 3 questionnaires: 1) Hamilton Anxiety Rating Scale, 2) Numerical Rating Scale, and 3) Group Health Association of America-9 survey. ANCOVA, Mann-Whitney U, and Chi-square test were used to analyze the data.
Main findings: There was significant difference of satisfaction and anxiety level between the control and experimental group after colonoscopy (p < .05). The majority of patients in the experimental group (75.9%) were satisfied with very good and 24.1% with excellent level. Pain levels increased to the mean score of 4.96 (SD = 2.02) in the experiment group and mean score of 6.41 (SD = 2.10) in the control group. However, there was no difference in pain perception between two groups.
Conclusion and recommendations: The comfort program shows an effectiveness to increase patients’ satisfaction and reduce anxiety. Thus, nurses should sustain this program by training all nurses and health care personal to improve the quality of patient’s care.
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมความสุขสบายต่อความพึงพอใจ ความวิตกกังวล และความปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ รูปแบบการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยทั้งชายและหญิงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รวม 152 คน ที่มารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบไม่ได้ดมยาสลบ โรงพยาบาลแบคมาย เมืองฮานอย ประเทศเวียตนาม ผู้ป่วยถูกแบ่งเท่าๆ กันเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสุขสบาย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลจากแฟ้มผู้ป่วยและใช้แบบสอบถามวัดความวิตกกังวลของ Hamilton Anxiety Rating Scale วัดความปวดด้วย Numerical Rating Scale และความพึงพอใจด้วย Group Health Association of America-9 survey วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ANCOVA Mann-Whitney U test และไคสแควร์ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจและความวิตกกังวลภายหลังได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความพึงพอใจในบริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมากถึงดีเยี่ยม (ร้อยละ 75.9 และ 24.1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของระดับความปวดเพิ่มขึ้นเป็น 4.96 (SD = 2.02) ขณะที่กลุ่มควบคุมคุมมีค่าเฉลี่ย 6.41 (SD = 2.10) แต่แตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมส่งเสริมความสุขสบายมีประสิทธิภาพที่จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจและลดความวิตกกังวลแก่ผู้ป่วย พยาบาลจึงควรนำโปรแกรมนี้มาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแล โดยเริ่มจากการจัดอบรมให้แก่พยาบาลและบุคลากรทุกคน
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลโปรแกรมส่งเสริมความสุขสบายต่อความพึงพอใจ ความวิตกกังวล และความปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ รูปแบบการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยทั้งชายและหญิงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รวม 152 คน ที่มารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบไม่ได้ดมยาสลบ โรงพยาบาลแบคมาย เมืองฮานอย ประเทศเวียตนาม ผู้ป่วยถูกแบ่งเท่าๆ กันเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสุขสบาย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลจากแฟ้มผู้ป่วยและใช้แบบสอบถามวัดความวิตกกังวลของ Hamilton Anxiety Rating Scale วัดความปวดด้วย Numerical Rating Scale และความพึงพอใจด้วย Group Health Association of America-9 survey วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ANCOVA Mann-Whitney U test และไคสแควร์ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจและความวิตกกังวลภายหลังได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ความพึงพอใจในบริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมากถึงดีเยี่ยม (ร้อยละ 75.9 และ 24.1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของระดับความปวดเพิ่มขึ้นเป็น 4.96 (SD = 2.02) ขณะที่กลุ่มควบคุมคุมมีค่าเฉลี่ย 6.41 (SD = 2.10) แต่แตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมส่งเสริมความสุขสบายมีประสิทธิภาพที่จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจและลดความวิตกกังวลแก่ผู้ป่วย พยาบาลจึงควรนำโปรแกรมนี้มาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแล โดยเริ่มจากการจัดอบรมให้แก่พยาบาลและบุคลากรทุกคน