Publication: ผลของการประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นชื้นต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก
Received Date
2565-06-18
Accepted Date
2565-07-22
Issued Date
2566
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
11
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 41, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-พ.ค. 2566), 93-104
Suggested Citation
เพียงพลอย ภิญญาภิรมย์, นิตยา สินสุกใส, วรรณา พาหุวัฒนากร, Piengploy Pinyapirom, Nittaya Sinsuksai, Wanna Phahuwatanakorn ผลของการประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นชื้นต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 41, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-พ.ค. 2566), 93-104. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94330
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของการประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นชื้นต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก
Alternative Title(s)
The Effect of Breast Compression with Warm Moist Cloth on the First Milk Secretion among Primiparous Mothers with Cesarean Section
Author's Affiliation
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประคบเต้านมด้วยความร้อนชื้นแบบตื้นด้วย “ผ้าอุ่นกระตุ้นน้ำนม” ต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
วิธีดำเนินการวิจัย: มารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรกที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา ได้รับการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เกณฑ์การคัดเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มารดาตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ 18.5-24.9 กก/ม2 เต้านมและหัวนมปกติ ไม่มีโรคที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างและหลั่งน้ำนม มารดาและทารกมีสุขภาพแข็งแรง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการประคบเต้านมแบบอุ่นชื้น กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินการไหลของน้ำนมทุก 2-3 ชั่วโมง หรือเมื่อมารดารู้สึกว่าน้ำนมเริ่มไหล วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่น้ำนมเริ่มไหลโดยใช้สถิติทดสอบที
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมเท่ากับ 30.89 ชั่วโมง กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมเท่ากับ 40.90 ชั่วโมง เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่น้ำนมเริ่มไหล พบว่ากลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองน้ำนมเริ่มไหลเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.49; p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: การประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นชื้นในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรก ช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรคนแรกได้ และควรมีการพัฒนาผ้าอุ่นกระตุ้นน้ำนมให้สามารถเก็บความร้อนได้นานขึ้น รวมทั้งศึกษาถึงความถี่ และระยะเวลาในการประคบว่ามีผลต่อการเริ่มไหลของน้ำนมมารดาให้เร็วขึ้นหรือไม่