Publication:
การติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาสามัญโลซาแทน (Losartan) ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช

dc.contributor.authorชโลบล เฉลิมศรี
dc.contributor.authorวีรนุช รอบสันติสุข
dc.contributor.authorวิษณุ ธรรมลิขิตกุล
dc.date.accessioned2025-04-10T07:54:07Z
dc.date.available2025-04-10T07:54:07Z
dc.date.created2568-04-10
dc.date.issued2553
dc.description.abstractบทนำ: Losartan เป็นหนึ่งในยากลุ่ม angiotensin II receptor blocker ที่ใช้ในการควบคุมระดับความดันโลหิต ปัจจุบันมียาสามัญของ Losartan เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลมีนโยบายติดตามประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของยาสามัญที่รับไว้ในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์: เพื่อทราบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาสามัญ Losartan เมื่อเปรียบเทียบกับยาต้นแบบในการลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รูปแบบการศึกษา: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับยาต้นแบบ losartan (Cozaar®) หรือยาสามัญ losartan (Tanzaril®) ต่อเนื่องอย่างน้อย ๖ สัปดาห์มาวิเคราะห์ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการศึกษาทั้งหมด ๕๘๗ ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ ๒๙๓ ราย และกลุ่มที่ได้รับ ยาสามัญ ๒๙๔ ราย ซึ่ง อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และระยะเวลาการได้รับยา และข้อบ่งใช้ยาของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่ได้รับยาสามัญ เป็นหญิงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ สำหรับโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่มีร่วมพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ เป็นโรคหัวใจ มะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมองมาก กว่ากลุ่มที่ได้รับยาสามัญ กลุ่มที่ได้รับยาสามัญพบว่ามีขนาดยาเฉลี่ยและจำนวนผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิตชนิดอื่น ร่วมด้วยน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ ส่วนจำนวนยาและชนิดของยาที่ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับร่วมด้วยส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ ได้รับยา furosemide และ verapamil ร่วมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาสามัญ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาสามัญ ได้รับยา doxazosin ร่วมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาต้นแบบ สำหรับค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตก่อนการรักษาและหลังการรักษาของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันโดยค่าเฉลี่ยของความดันโลหิต หลังการรักษาของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มลดลงจากก่อนการรักษาและในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมีการตอบสนองต่อการรักษาไม่แตกต่างกัน สำหรับผลข้างเคียงของการรักษาไม่พบความแตกต่างกันระหว่างยาทั้งสองกลุ่ม สรุป: ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาสามัญ losartan ไม่ต่างจากยาต้นแบบ losartan
dc.format.extent8 หน้า
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสารเวชบันทึกศิริราช. ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2553), 71-78
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109433
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectเวชระเบียน
dc.subjectแพทย์
dc.subjectประสิทธิโรคความดันโลหิตสูง
dc.subjectโลซาแทน
dc.subjectวารสารเวชบันทึกศิริราช
dc.subjectSiriraj Medical Bulletin
dc.titleการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาสามัญโลซาแทน (Losartan) ในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช
dc.typeArticle
dcterms.accessRightsopen access
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/81928
oaire.citation.endPage78
oaire.citation.issue2
oaire.citation.startPage71
oaire.citation.titleวารสารเวชบันทึกศิริราช (Siriraj Medical Bulletin)
oaire.citation.volume3
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาอายุรศาสตร์
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. หน่วยระบาดวิทยาคลินิก
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. สถานส่งเสริมการวิจัย

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
si-ar-chalobol-2553.pdf
Size:
197.19 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections