Publication:
สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย

dc.contributor.authorกิตติพงศ์ พลเสนen_US
dc.contributor.authorธีระ ศิริสมุดen_US
dc.contributor.authorพรทิพย์ วชิรดิลกen_US
dc.contributor.authorKittipong Ponsenen_US
dc.contributor.authorTeera Sirisamutren_US
dc.contributor.authorPorntip Wachiradiloken_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยชุมชนen_US
dc.contributor.otherสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
dc.date.accessioned2020-12-09T01:48:52Z
dc.date.available2020-12-09T01:48:52Z
dc.date.created2563-12-09
dc.date.issued2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และลักษณะพื้นฐานด้านปัจเจกบุคคล ครอบครัว สังคม พื้นที่ และวิธีการรับบริการ ของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลทุติยภูมิจากโรงพยาบาล 40 แห่ง และข้อมูลปฐมภูมิด้วยการ สัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือญาติที่เข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 2,011 คน จาก โรงพยาบาล 45 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า จากข้อมูลทุติยภูมิพบอัตราการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ร้อยละ 19.1 และจากข้อมูลการสัมภาษณ์ พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 59.4) มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 55.0) มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 49.2) และมีความพิการทางด้านการเคลื่อนไหว (ร้อยละ 67.8) ส่วนลักษณะทางครอบครัว พบว่า ผู้ป่วยที่ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ลำพังกับผู้สูงอายุด้วยกัน (ร้อยละ 11.5) และในครัวเรือนจะมีรถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 88.0) สำหรับจุดเกิดเหตุ พบว่า ส่วนมากจะอยู่ห่างจากโรงพยาบาลไม่เกิน 10 กิโลเมตร (ร้อยละ 30.8) และอยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์ (ร้อยละ 99.4) สำหรับวิธีที่มารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน พบว่า ส่วนใหญ่มาด้วยรถปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 44.9) และในกลุ่มที่มาด้วยตัวเองจะมาด้วยรถยนต์เป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 83.8) ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน แม้ว่าจะมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีต เพราะความรู้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในขณะที่กลุ่มที่ใช้บริการสอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมและการเจ็บป่วย จึงมีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริมกลไกการสนับสนุนการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้พิการ สร้างการมีส่วนร่วมการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินแก่ประชาชนให้ถูกต้อง และประชาสัมพันธ์การเรียกใช้ผ่านหมายเลข 1669 ให้มากขึ้นen_US
dc.description.abstractThis research aimed to analyze the situations and characteristics of individuals, families, societies, areas and methods of travelling when using Emergency Medical Services (EMS) in the Department of Accident and Emergency Services or Emergency Room (ER). This was a descriptive study. Secondary data were collected from 40 hospitals and primary data by interviewing patients or their relatives admitted to the ER. The sample totaled 2,011 patients from 45 hospitals. The secondary data showed that the user rate of EMS was 19.1%. Primary data revealed the majority of patients using the EMS comprised males (59.4%), aged 60 years and above (55.0), presenting underlying disease with hypertension (49.2%) and physical disability (67.8%). For family characteristics, the majority of patients suing EMS resided with an elderly individual (11.5%) and had one motorcycle in the household (88.0%). Moreover, the majority locations referred by EMS were located within 10 kilometers of the hospital (30.8%). The majority could access the mobile phone signal at that place (99.4%). For EMS transport, the majority used the EMS vehicle of the Local Administrative Organization (LAO) (44.9%). However, their family car was used by patients who came by themselves (83.8%). The results showed that most people do not use EMS because of misunderstandings regarding accessing. However, use has increased from the past. In addition, patients using EMS were consistent with social and illness situations. Access to EMS should be more widely promoted especially among the elderly, individuals with congenital diseases and those with disabilities. The call number 1669 should be disseminated to people as well. Moreover, the LAO should expand collaboration with EMS.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 41, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2561), 51-63en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60275
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการแพทย์ฉุกเฉินen_US
dc.subjectผู้ป่วยฉุกเฉินen_US
dc.subjectแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินen_US
dc.subjectEmergency Medicineen_US
dc.subjectEmergency Patientsen_US
dc.subjectEmergency Medical Serviceen_US
dc.subjectJournal of Health Educationen_US
dc.titleสถานการณ์การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe Situation of Using Emergency Medical Services at the Emergency Department of Emergency Patients in Thailanden_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/155683

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-kittipon-2561.pdf
Size:
387.91 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections