Publication:
ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับประทานอาหารอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลลัพธ์จากการดูแล ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลต่อบริการที่ได้รับ และ ความปลอดภัยในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

dc.contributor.authorพิราลักษณ์ ลาภหลายen_US
dc.contributor.authorศุภร วงศ์วทัญญูen_US
dc.contributor.authorยุพาพิน ศิรโพธิ์งามen_US
dc.contributor.authorPiraluk Laplaien_US
dc.contributor.authorSuporn Wongvatunyuen_US
dc.contributor.authorYupapin Sirapo-ngamen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีen_US
dc.date.accessioned2019-10-21T04:21:33Z
dc.date.available2019-10-21T04:21:33Z
dc.date.created2562-10-21
dc.date.issued2560
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับ ประทานอาหารอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาด หวังในผลลัพธ์จากการดูแล ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลต่อบริการที่ได้รับ และความปลอดภัยในการรับประทาน อาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้กรอบแนวคิดการรับรู้ความสามารถแห่งตนของแบนดูรา ในการ พัฒนาโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ญาติผู้ดูแลหลักและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 50 คู่ แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองจำนวน 25 คู่ และกลุ่มควบคุมจำนวน 25 คู่ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้เวลาในการจัด โปรแกรมเป็นระยะเวลา 3 วัน ประเมินผลโปรแกรมฯ จากการตอบแบบสอบถามของญาติผ้ดู ูแลก่อนและในระยะ 48 ชั่วโมง และ 2 สัปดาห์หลังได้รับโปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และสถิติการวิเคราะห์ความ แปรปรวน 2 ปัจจัย แบบวัดซ้ำ 1 ปัจจัย โดยประเมินก่อนการทดลอง หลังทดลองในระยะ 48 ชั่วโมง และ 2 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ญาติผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีความรู้และการรับรู้ความสามารถแห่งตนในระยะหลังสิ้นสุดโปรแกรม 48 ชั่วโมง และ 2 สัปดาห์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความคาดหวังในผลลัพธ์จากการดูแลและ ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน จากการติดตาม 2 สัปดาห์ พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2 รายในกลุ่มควบคุมกลับเข้ารักษาซ้ำด้วยภาวะปอดติดเชื้อจากการสูดสำลัก ในขณะ ที่ไม่พบในกลุ่มทดลอง ซึ่งแสดงถึงความปลอดภัยในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.description.abstractThis quasi-experimental research aimed to examine the effects of the program to promote safe eating in stroke patients on family caregivers’ knowledge, self-efficacy, outcome expectation of their care, and family caregivers’ satisfaction with the program, and safe eating in stroke patients. The program was developed based on Bandura’s Self- Efficacy theory. The fifty family caregivers of the stroke patients were recruited by purposive sampling, and divided into 25 in the control group and 25 in the experimental group. The control group received regular nursing care whereas the experimental group received the program lasted for 3 day. The effect of the program was evaluated when the caregivers completed the questionnaires before and at 48 hours and 2nd week after the program. Data were analyzed with descriptive statistics and two-factor repeated measures design with repeated measure on one measure factor. The results revealed that family caregivers in the experimental group had significantly higher score on knowledge and perceived self-efficacy than those in the control group both at 48 hours and at 2nd week after the program. However, there was no significant difference in outcome expectation and caregivers’ satisfaction between the experimental group and the control group. On the 2nd week of follow up, two of the samples in the control group had readmitted to the hospital as a consequence of aspiration pneumonia, whereas no one in the experimental group had readmitted, which signified safe eating in the stroke patients.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 23, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2560), 78-98en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/47930
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderโรงเรีียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการรับประทานอาหารอย่างปลอดภัยen_US
dc.subjectผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.subjectญาติผู้ดูแลen_US
dc.subjectความรู้en_US
dc.subjectการรับรู้ความสามารถแห่งตนen_US
dc.subjectSafe eatingen_US
dc.subjectStroke patienten_US
dc.subjectFamily caregiversen_US
dc.subjectKnowledgeen_US
dc.subjectSelf-efficacyen_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับประทานอาหารอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลลัพธ์จากการดูแล ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลต่อบริการที่ได้รับ และ ความปลอดภัยในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeThe Effects of the Program to Promote Safe Eating in Stroke Patients on Family Caregivers Knowledge, Self-efficacy, Outcome Expectation, Family Caregivers Satisfaction, and Safe Eating in Stroke Patientsen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/60604/73340

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-suporn-2560.pdf
Size:
891.5 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections