Publication:
โปรแกรมการสร้างพลังร่วมกับการตั้งเป้าหมายเพื่อปรับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ู ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก

dc.contributor.authorนิรัตน์ อิมามีen_US
dc.contributor.authorธิดา ศิริen_US
dc.contributor.authorมันทนา ประทีปะเสนen_US
dc.contributor.authorธราดล เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorมณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.contributor.otherโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาโภชนวิทยาen_US
dc.date.accessioned2022-05-20T17:08:11Z
dc.date.available2022-05-20T17:08:11Z
dc.date.created2565-05-21
dc.date.issued2551
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างพลังร่วมกับ การตั้งเป้าหมายเพื่อปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ซึ่งประยุกต์ แนวคิดการสร้างพลังร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม และการตั้งเป้าหมายเป็นกรอบแนวคิด ในการกำหนดกิจกรรมสุขศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับ บริการตรวจรักษาที่คลินิกพิเศษโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 40 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 40 ราย กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างพลังร่วมกับการตั้งเป้าหมาย ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับ บริการตามปกติจากแพทย์ผู้รักษา และเจ้าหน้าที่คลินิกพิเศษโรคเบาหวานเก็บข้อมูลโดยใช้แบบ สัมภาษณ์ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Independent’s t-test และ Paired samples t-test ผลการศึกษา พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ การรับรู้ความ สามารถในการดูแลตนเอง พฤติกรรมในการดูแลตนเองดีมากกว่าก่อนการทดลอง และระดับน้ำตาล ในเลือดก่อนอาหารเช้าลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) เมื่อ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้ความสามารถในการ ดูแลตนเองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบ และมีคะแนนเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้าลดลงมากกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสร้างพลังร่วมกับการตั้งเป้าหมายเพื่อปรับ พฤติกรรมการดูแลตนเอง สามารถทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง เหมาะสมยิ่งขึ้น นำมาซึ่งการลดระดับน้ำตาลในเลือดและน่าจะมีส่วนช่วยลดภาวะแทรกซ้อน จากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ ดังนั้น โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงควรจัด โปรแกรมการสร้างพลังร่วมกับการตั้งเป้าหมายเพื่อปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วย โรคเบาหวานในคลินิกพิเศษโรคเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง และเหมาะสม และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปen_US
dc.description.abstractThe objective of this quasi-experimental research was to assess the effectiveness of and empowerment program with goal setting to enhance self-care behaviors of Type II diabetes patients. The sample comprised 80 diabetes patients who attended Special Diabetes Clinic, Outpatient Department, Somdejprajoataksinmaharaj hospital. Control factors were used to select and the subjects they were assigned into two equal groups, an experimental and a comparison group. The experimental group received the program activities 4 times at one month intervals while the comparison group received regular services from the clinic staffs. Interview questionnaires, regarding general information, knowledge about diabetes, perceived self-efficacy, and self-care behaviors in relation to blood sugar control were used to collect data. Results of the study showed that after the experiment, the experimental group had significantly better knowledge about diabetes, perceived self-efficacy in performing diabetes control behaviors, and behavioral practices regarding eating, exercises, and taking prescribed medicine than before the experiment as well as than those of the comparison group (p<0.001). Fasting Blood Sugar level of the experimental group were also significantly decreased compared to those before the experiment and those of the comparison group (p<0.001). These results indicate that the empowerment program with goal setting activities made the diabetes patients in the experimental group better perform self-care practices about eating, exercises, and taking prescribed medicine. The proper self-care practices resulted in significant decreasing of blood sugar level that aided the prevention of complication from diabetes. Therefore, this program should be applied for diabetes patients who can not control their blood sugar level.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 31, ฉบับที่ 109 (พ.ค.- ส.ค. 2551), 51-65en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64767
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโปรแกรมการสร้างพลังen_US
dc.subjectการตั้งเป้าหมายen_US
dc.subjectผู้ป่วยเบาหวานen_US
dc.titleโปรแกรมการสร้างพลังร่วมกับการตั้งเป้าหมายเพื่อปรับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ู ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตากen_US
dc.title.alternativeEmpowerment program with goal setting for type II diabetes patients’ self-care behaviors at Somdejprajoataksinmaharaj hospital, Tak provinceen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-nirat-2551.pdf
Size:
2.37 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections