Publication:
ผลของการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

dc.contributor.authorNatsurang Boonchunen_US
dc.contributor.authorปรางค์ทิพย์ อุจะรัตนen_US
dc.contributor.authorPrangtip Ucharattanaen_US
dc.contributor.authorวัฒนา พันธุ์ศักดิ์en_US
dc.contributor.authorWattana Punsakden_US
dc.contributor.authorนิตยา มีหาดทรายen_US
dc.contributor.authorNittaya Meehardsaien_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลรากฐานen_US
dc.date.accessioned2018-02-21T03:36:02Z
dc.date.available2018-02-21T03:36:02Z
dc.date.created2018-02-21
dc.date.issued2554
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จํานวน 78 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอัมพาต/อัมพฤกษ์ โรคหัวใจระยะรุนแรง โรคไตวายและอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดูแลตนเอง เครื่องมือที่ใช้ดําเนินการวิจัยเป็นแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นตามแนวคิดการสร้างเสริมพลังอํานาจของ Gibson ประกอบด้วยการเคารพในความเป็นบุคคล วิเคราะห์ปัญหา สะท้อนคิด ตั้งเป้าหมาย วางแผนสนับสนุนและติดตามประเมินผล พฤติกรรมการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่างได้รับการเสริมสร้างพลังอํานาจตามแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้น 3 ครั้ง และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสู’ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพได้รับการจัดกลุ่มโดยการใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมและรายด้านของกลุ่มตัวอย่างภายหลังการเข้าโครงการฯ แตกต่างจากคะแนนก่อนเข้าโครงการฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลงต่ํากว่าก่อนเข้าโครงการ (p < .05) การวิเคราะห์ด้านเนื้อหา พบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่สม่ําเสมอ ไม่มีความรู้และไม่สนใจค่าความดันโลหิตที่วัดได้ หวังพึ่งแพทย์ในการควบคุมความดันโลหิตเท่านั้น กลุ่มตัวอย่างเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง เช่น การให้ความสําคัญกับการเลือกรับประทานอาหาร การเห็นความสําคัญและแบ่งเวลาในการออกกําลังกาย การคลายความเครียดโดยการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุอย่างสม่ําเสมอ และการตรวจสอบการใช้ยาของตนเองอย่างสม่ําเสมอ สรุปและข้อเสนอแนะ: การใช้โปรแกรมการสร้างพลังอํานาจในพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเอง สามารถส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองและลดความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรนําโครงการการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองไปใช้ในระดับปฐมภูมิ เพื่อเสริมสร้างพลังอํานาจให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมความดันโลหิตด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิผลen_US
dc.description.abstractPurposes: The objectives of this action research study were to develop an empowerment program to increase self-care agency in elders with uncontrollable hypertension and to examine the effects of the program. Design: Action research. Methods: A total of 78 elders with uncontrollable hypertension were recruited using convenience sampling. Exclusion criteria were paralysis, critical heart disease, renal failure, and any condition inhibiting self care. A practice guideline based on Gibson’ s process of empowerment was developed for use in the program which consisted of self respect, problem analysis, reflection, goal setting, supportive planning, evaluation and self-care behavior. The subjects joined the empowerment groups 3 times. Data analysis using descriptive statistics and t-test were performed for quantitative data, and content analysis for qualitative data. Main findings: Elders’ self-care behaviors between pre and post program enrollment were significantly different (p < .05). Blood pressure was significantly decreased after program enrollment (p < .05). Content analysis was revealed that elders were not aware of high blood pressure, lacked of knowledge, and depended on physicians’ orders. After the program, the subjects’ self-care behaviors were positively changed with, for example, increased awareness of diet control and daily exercise, increased participation in elder’s group activities for reducing stress, and consistently self-monitoring in medication use.Conclusion and recommendations: The use of an empowerment program to develop self-care agency can increase self care behaviors and reduce blood pressure in elders. The program should be applied in primary health care settings to empower the elders for controlling their blood pressure effectively.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ. เพิ่มเติม 2), ฉบับที่ 3 (ก.ค - ก.ย. 2554), 93-102en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/8766
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลตนเองen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleผลของการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.title.alternativeEffects of an Empowerment Program on Self-care Agency for Elders with Hypertensionen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/2871

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-natsuran-2554.pdf
Size:
2.02 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections