Publication:
การเปรียบเทียบเชิงไคเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะชูตลูกโทษระหว่างนักกีฬาวีลแชร์ บาสเกตบอลกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยและนักกีฬาที่มีประสบการณ์

dc.contributor.authorปรัญชญา แจ่มกระจ่างen_US
dc.contributor.authorวีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์en_US
dc.contributor.authorเมตตา ปิ่นทองen_US
dc.contributor.authorวรรธนะ ชลายนเดชะen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
dc.date.accessioned2014-08-25T09:30:21Z
dc.date.accessioned2017-03-21T07:32:05Z
dc.date.available2014-08-25T09:30:21Z
dc.date.available2017-03-21T07:32:05Z
dc.date.created2557-08-25
dc.date.issued2011-07
dc.description.abstractการชูตลูกโทษเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของวีลแชร์บาสเกตบอล เนื่องจากเป็นโอกาสที่จะทำแต้มในการแข่งขัน ถึงแม้ว่าการศึกษาที่ผ่านมามีความสนใจศึกษาในส่วนของไคเนมาติกส์ของรยางค์บนขณะทำการชูตลูกโทษ การศึกษาในเรื่องคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อรยางค์บนขณะชูตลูกโทษยังมีอยู่จำกัดและการศึกษาร่วมกันทั้งไคเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้า กล้ามเนื้อรยางค์บนทำให้เข้าใจรูปแบบการทำงานของกล้ามเนื้อและกลไกการชูตลูกโทษได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของการชูตลูกโทษได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ ศึกษาเปรียบเทียบการทำงานของกล้ามเนื้อรยางค์บนและความแตกต่างของไคเนมาติกส์ของนักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลขณะชูตลูกโทษลงห่วง ระหว่างกลุ่มที่เริ่มหัดเล่นหรือมีประสบการณ์น้อย (NOV) และกลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์ อาสาสมัครเข้าร่วมในงานวิจัยนี้เป็นนักกีฬาวีลแชร์บาสเกตบอลจำนวน 11 คน ระดับความพิการอยู่ในช่วง 3.0-4.5 แต้ม แบ่งนักกีฬาออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์น้อย จำนวน 3 คน (อายุเฉลี่ย 27.7 ± 4.16 ปี , น้ำหนัก 53.7 ± 4.51 กก., ส่วนสูง 136.0 ± 1.00 ซม.) และกลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์ จำนวน 8 คน (อายุเฉลี่ย 31.3 ± 5.92 ปี, น้ำหนัก 61.5 ± 5.53 กก., ส่วนสูง 142.6 ± 5.53 ซม.) นักกีฬาแต่ละคนชูตลูกโทษ 10 ครั้ง เลือกลูกที่ลง 2 ลูกมาวิเคราะห์ บันทึกการทำงานของกล้ามเนื้อรยางค์บน ได้แก่ กล้ามเนื้อ anterior deltoid (AD), biceps (BB), triceps (TB), brachioradialis (BRD), wrist flexor (WF) และ wrist extensor (WE) โดยใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อแบบ surface ที่ความถี่ 1000 เฮิร์ต ติดอิเลคโทรด 6 ตำแหน่งและมาร์คเกอร์จำนวน 7 มาร์คเกอร์บนแขนข้างที่ทำการชูต ทำการบันทึกค่าทางไคเนมาติกส์โดยใช้กล้องวีดิโอ 3 ตัว ที่ความถี่ 60 เฮิร์ต ผลการทดลองพบว่า anterior deltoid และ triceps เป็นกล้ามเนื้อหลักสองมัดที่ใช้ทำการชูตลูกโทษใน execution phase ของทั้งสองกลุ่ม ใช้ Mann-Whitney U test ทดสอบพบว่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ wrist extensor ช่วง execution phase ของกลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์มีค่ามากกว่ากลุ่มนักกีฬากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อย (NOV) อย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.03) กลุ่มนักกีฬาที่มีประสบการณ์มีจุดปล่อยบอลสูงกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.02) แม้ว่ามุมของข้อต่อรยางค์บนและความเร็วเชิงมุมจะไม่มีความแตกต่างกันแต่ก็พบว่านักกีฬากลุ่มที่มีประสบการณ์มีความเร็วเชิงมุมของการงอข้อมือเร็วกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์น้อย สรุปว่าการเคลื่อนที่ของมุมข้อมือเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้การชูตลูกโทษประสบความสำเร็จen_US
dc.identifier.citationวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. ปีที่ 11, ฉบับที่ 1 (ก.ค. 2554), 144-159en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1452
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาแห่งประเทศไทย (สวกท)en_US
dc.rights.holderSports Science Society of Thailand (SSST)
dc.subjectไคเนมาติกส์en_US
dc.subjectคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อen_US
dc.subjectการชูตลูกโทษen_US
dc.subjectการแข่งขันบาสเกตบอลคนพิการen_US
dc.subjectวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
dc.subjectOpen Access article
dc.subjectJournal of Sports Science and Technology
dc.titleการเปรียบเทียบเชิงไคเนมาติกส์และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะชูตลูกโทษระหว่างนักกีฬาวีลแชร์ บาสเกตบอลกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยและนักกีฬาที่มีประสบการณ์en_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ss-ar-weerawat-2011.pdf
Size:
340.2 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections