Publication: การป้องกันความผิดพลาดจากการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์: ความผิดพลาดในช่วงก่อนการวิเคราะห์
Issued Date
2019
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 42, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 49-62
Suggested Citation
อภิรมย์ วงศ์สกุลยานนท์, Apirom Vongsakulyanon การป้องกันความผิดพลาดจากการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์: ความผิดพลาดในช่วงก่อนการวิเคราะห์. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 42, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 49-62. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72258
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การป้องกันความผิดพลาดจากการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์: ความผิดพลาดในช่วงก่อนการวิเคราะห์
Alternative Title(s)
Prevention of Clinical Laboratory Test Error: Pre-analytical Error
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
ความผิดพลาดในการทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) ความผิดพลาดก่อนการวิเคราะห์ 2) ความผิดพลาดระหว่างการวิเคราะห์ และ 3) ความผิดพลาดหลังการวิเคราะห์ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดในช่วงก่อนการวิเคราะห์โดยมักเป็นความผิดพลาดที่มีสาเหตุจากมนุษย์ ทำให้ผลการทดสอบที่ได้ไม่น่าเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย วินิจฉัยและรักษาโรคผิดพลาด เกิดภาวะแทรกซ้อน (อาจถึงขั้นเสียชีวิต) ตามมาได้ ดังนั้น การกำหนดข้อบังคับและแนวทางปฏิบัติในการจัดการกับตัวอย่างเพื่อให้สามารถระบุชื่อผู้ป่วยได้ถูกคน ลดการปนเปื้อนของตัวอย่าง เก็บและส่งตัวอย่างได้ถูกวิธี จะช่วยลดความผิดพลาดลงได้ อีกทั้งการตระหนักถึงข้อจำกัดของการทดสอบและการสื่อสารกับห้องปฏิบัติการ เมื่อผลการทดสอบไม่สอดคล้องกับอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ ปัจจัยเหล่านี้นำไปสู่การแปลผลการทดสอบได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อาจให้ผลบวกลวงหรือลบลวงได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดข้างต้น ดังนั้น ควรส่งทดสอบทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อย่างเหมาะสมตามข้อบ่งชี้เพื่อลดโอกาสของความผิดพลาดและผลกระทบที่ตามมาโดยไม่จำเป็น
Laboratory test errors are classified into 3 categories: 1) pre-analytical error, 2) analytical error, and 3) post-analytical error. Most errors occur during pre-analytical step, usually caused by human error. The errors make laboratory result unreliable, following with the improper patient care by increasing cost, misdiagnosis, inappropriate treatment, and unexpected complication (even death). Therefore, the implementation of regulation to improve the sample handling process by accurate identification, contamination control, appropriate collection and transportation, is necessary to reduce the errors. In addition, awareness of test’s limitation and communication with laboratory service, when the result is not consistent with clinical manifestation, are also the important factors. The above measures should lead to the appropriate interpretation of laboratory result, following with the effective patient care. Apart from the laboratory test errors, the test itself could give falsely positive or falsely negative results. Therefore, the appropriate laboratory use based on indication is the vital part to minimize unnecessary consequences.
Laboratory test errors are classified into 3 categories: 1) pre-analytical error, 2) analytical error, and 3) post-analytical error. Most errors occur during pre-analytical step, usually caused by human error. The errors make laboratory result unreliable, following with the improper patient care by increasing cost, misdiagnosis, inappropriate treatment, and unexpected complication (even death). Therefore, the implementation of regulation to improve the sample handling process by accurate identification, contamination control, appropriate collection and transportation, is necessary to reduce the errors. In addition, awareness of test’s limitation and communication with laboratory service, when the result is not consistent with clinical manifestation, are also the important factors. The above measures should lead to the appropriate interpretation of laboratory result, following with the effective patient care. Apart from the laboratory test errors, the test itself could give falsely positive or falsely negative results. Therefore, the appropriate laboratory use based on indication is the vital part to minimize unnecessary consequences.