Publication:
การรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง ชมรมผู้สูงอายุไร่ขิงเมตตาประชารักษ์ จังหวัดนครปฐม

dc.contributor.authorราตรี ผลสาลี่en_US
dc.contributor.authorธราดล เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorสุปรียา ตันสกุลen_US
dc.contributor.authorชุติมา ศิริกุลชยานนท์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาโภชนวิทยาen_US
dc.date.accessioned2022-06-30T16:01:05Z
dc.date.available2022-06-30T16:01:05Z
dc.date.created2565-06-30
dc.date.issued2553
dc.descriptionFulltext is not available.en_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความ สามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง ชมรมผู้สูงอายุไร่ขิงเมตตาประชารักษ์ จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน ที่เข้าร่วม กิจกรรมตามโปรแกรม รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ทดสอบ สมรรถภาพทางกาย และประเมินสุขภาพทั่วไปก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Paired Sample t-test ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่อง การออกกำลังกาย รับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกาย ความคาดหวังผลลัพธ์ของการ ออกกำลังกายเพื่อควบคุมโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการออกกำลังกาย และสมรรถภาพทางกาย ด้านความจุปอด ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัว บนลดลงจาก 143.13 มิลลิเมตรปรอท เป็น 131.58 มิลลิเมตรปรอท (p<0.001) และความดันโลหิตตัว ล่างลดลงจาก 80.75 มิลลิเมตรปรอท เป็น 75.30 มิลลิเมตรปรอท (p=0.001) รวมทั้งน้ำหนักตัวลดลงจาก 59.71 กิโลกรัม เป็น 58.93 กิโลกรัม (p<0.001) แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมออกกำลังกาย ในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีประสิทธิผล ทำให้ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีการออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นและสามารถลดระดับความดันโลหิตลงได้ ดังนั้น สถานบริการสุขภาพสามารถนำโปรแกรม สุขศึกษานี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชมรมผู้สูงอายุต่อไป สำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรดำเนินการศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแนวคิดการมีส่วนร่วม เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความผูกพัน อันจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ยั่งยืนen_US
dc.description.abstractThis quasi-experimental research was aimed to study the effectiveness of a health education program applying self-efficacy theory and social support to promote exercise behavior among hypertensive elderly patients in the Rai-khing Mettapracharak Elderly Club, Nakhonpathom Province, Thailand. The sample was composed of 40 elderly patients who participated in the program’s activities for 8 weeks. Data collection was done by interview, a physical fitness test, and a general health assessment before and after the experimentation. The statistics used for analyzing data were frequency, percentage, arithmetic mean, and Paired Sample t-test. The research findings show that after participating in the program, the patients gained significantly higher levels of knowledge about exercise, perceived self-efficacy to perform exercise behavior, perceived outcome expectation of exercise for controlling hypertension, exercise behavior, and physical fitness regarding lung capacity. The systolic pressure mean was found to be lower, moving from 143.13 mmHg to 131.5 mmHg (p<0.001); and the diastolic pressure mean fell from 80.75 mmHg to 75.30 mmHg (p=0.001). Body weight was found to be significantly lower from 59.71 kilograms to 58.93 kilograms (p<0.001). These findings show that the program was effective in promoting higher levels of exercise behavior in elderly patients with hypertension, and their blood pressure level decreased. Thus, health service organizations should apply this type of health education program suitably, with different contexts for various elderly clubs. For further research, study should be carried on in regard to applying self-efficacy theory and participation to make the sample group commit to practicing sustainable exercise behavior.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 33, ฉบับที่ 115 (พ.ค.- ส.ค. 2553), 62-en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72011
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการรับรู้ความสามารถตนเองen_US
dc.subjectแรงสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectออกกำลังกายen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.titleการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมออกกำลังกายของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง ชมรมผู้สูงอายุไร่ขิงเมตตาประชารักษ์ จังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativeSelf-efficacy Theory With Social Support to Promote Exercise Behavior Among Elderly Patients With Hypertension in Rai-khing Mettapracharak Club, Nakhonpathom Province, THAILANDen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections