Publication: ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2557
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสิ่งแวดล้อมแและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 55-75
Suggested Citation
อุทุมพร ไวฉลาด, วันทนีย์ โพธิ์กลาง, Utumporn Waichalad, Wantanee Phoklang ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 1, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 55-75. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/53956
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
The Study of Graduate’s Satisfaction Towards Learning in Bachelor of Science Program in Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University
Other Contributor(s)
Abstract
บทความนี้เป็นการศึกษาระดับความพึงพอใจและเปรียบเทียบความพึงพอใจของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร 6 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาวิชาของหลักสูตร ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านการจัดทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อม ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ด้านการให้บริการ การอำนวยความสะดวก
และด้านการนำความรู้ไปใช้กับการทำงาน โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2556 จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่าบัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน รองลงมา คือ ด้านการนำความรู้ไปใช้กับการทำงาน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ด้านการให้บริการ การอำนวยความสะดวก ด้านเนื้อหาวิชาของหลักสูตร และด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อม ตามลำดับ การวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล คือ เพศ แขนงวิชา การสอบเข้าศึกษา และเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร นั้น พบว่า บัณฑิตเพศชายมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน ด้านการให้บริการ การอำนวยความสะดวกมากกว่าบัณฑิตเพศหญิง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอีก 5 ด้าน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบด้วยตัวแปรด้านแขนงวิชา การเลือกสอบเข้าศึกษา และเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรนั้น บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน ทั้ง 6 ด้าน ที่ไม่แตกต่างกัน
This article aims to study graduate’s satisfaction level and compare satisfaction of graduates of the Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University towards six teaching and learning aspects namely course contents, lecturers, resource and environment management, student development activities, services and facilities and application of knowledge into work practice, classified by basic personal data. The survey sample included 66 graduates from the Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University in academic year 2013. Questionnaires were used for data collection and the data was analyzed using statistics such as percentage, arithmetic mean, standard deviation, T-Test and analysis of variance. The results revealed that graduates were highly satisfied with the teaching and learning of all six aspects. The highest average was lecturers’ aspect; followed by application of knowledge into work practice, student development activities, services and facilities aspect, course contents aspect and resource and environment management respectively. Comparative analysis of graduate’s satisfaction was classified by basic personal data; gender, field of study, admission examination, and Cumulative Grade Point Average. A significant difference at the level of 0.05 was found male graduate’s satisfaction towards the services and facilities aspect than female graduate. However, there were no difference in satisfaction in terms of the other five aspects. A comparison between the field of study, admission examination and Cumulative Grade Point Average, did not find a difference in graduate’s satisfaction towards the six aspects of teaching and learning.
This article aims to study graduate’s satisfaction level and compare satisfaction of graduates of the Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University towards six teaching and learning aspects namely course contents, lecturers, resource and environment management, student development activities, services and facilities and application of knowledge into work practice, classified by basic personal data. The survey sample included 66 graduates from the Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University in academic year 2013. Questionnaires were used for data collection and the data was analyzed using statistics such as percentage, arithmetic mean, standard deviation, T-Test and analysis of variance. The results revealed that graduates were highly satisfied with the teaching and learning of all six aspects. The highest average was lecturers’ aspect; followed by application of knowledge into work practice, student development activities, services and facilities aspect, course contents aspect and resource and environment management respectively. Comparative analysis of graduate’s satisfaction was classified by basic personal data; gender, field of study, admission examination, and Cumulative Grade Point Average. A significant difference at the level of 0.05 was found male graduate’s satisfaction towards the services and facilities aspect than female graduate. However, there were no difference in satisfaction in terms of the other five aspects. A comparison between the field of study, admission examination and Cumulative Grade Point Average, did not find a difference in graduate’s satisfaction towards the six aspects of teaching and learning.