Publication: การรับรู้คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ในหน่วยวิกฤต
dc.contributor.author | นฤมล กิจจานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | อัจฉรา จงเจริญกำโชค | en_US |
dc.contributor.author | Narumol Kijjanon | en_US |
dc.contributor.author | Achara Jongjareonkumchok | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. งานการพยาบาลศัลยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-05-13T08:40:57Z | |
dc.date.available | 2020-05-13T08:40:57Z | |
dc.date.created | 2563-05-13 | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.description.abstract | คุณภาพการนอนหลับ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นฟูของผู้ป่วยวิกฤต ดังนั้นพยาบาลต้องให้ความสำคัญในการประเมินคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยวิกฤต และให้การพยาบาลเพื่อเพิ่มคุณภาพการนอนของผู้ป่วยวิกฤตในไอซียู วิธีการประเมินคุณภาพการนอนหลับได้แม่นยำ เที่ยงตรงมากที่สุด คือ เครื่องมือวัดการนอนหลับ polysomnography (PSG) ซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวัดการนอนหลับ แต่เครื่องมือนี้มีวิธีการและการแปรผลซัลซ้อน ยุ่งยากและราคาแพง จึงไม่เหมาะกับการใช้ในงานประจำในหอผู้ป่วยหรือไอซียู การประเมินการนอนหลับ โดยพยาบาลสังเกต หรือให้ผู้ป่วยประเมินตนเอง สามารถใช้ในงานประจำได้สะดวกง่ายและไม่มีค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ งานวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ ต้องศึกษาการใช้แบบประเมินคุณภาพการนอนและแบบสังเกตการนอนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจในไอซียูกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 36 คน เก็บข้อมูลโดย 1) พยาบาลสัมภาษณ์ตามแบบประเมินคุณภาพการนอนที่บ้าน วันผ่าตัด และวันที่ 1 หลังผ่าตัด 2) พยาบาลสังเกตการนอนวันที่ 1 หลังผ่าตัด ผลการศึกษาคุณภาพการนอนของผู้ป่วยที่บ้านอยู่ในเกณฑ์ดีมาก คุณภาพการนอนมีแนวโน้มลดลงหลังผ่าตัด การสังเกตคุณภาพการนอนโดยพยาบาลทุกชั่วโมงได้ผลใกล้เคียงกับแบบประเมินคุณภาพการนอนที่ผู้ป่วยประเมินตนเอง | en_US |
dc.description.abstract | Sleep quality is important factor to recover critical patient. So nurses should give important to assess sleep quality of critical patient and nursing care for improved sleep quality of critical patient in ICU. The most accurate sleep qulity assessment tool is polysomnography (PSG), that is the standard sleep measurement, but complicated, difficulty and expensive. It is not suitable for routine work. The sleep measurement method by nurse observation or self-evaluation sleep quality of patient is cheap and easier to be used in routine work. This descriptive research aimed to study the use of sleep quality assessment and sleep observation pattern of postoperative cardiac patients in ICU. The purpose sampling was used to recruit a sample of 36 patients. Data collected by 1) nursing interview sleep quality at home, operative day, and first day post-operative based on self-evaluation sleep quality evaluation form. 2) sleep observation on first day post-operative by nurse. The finding indicated that sleep quality of the patients at home are very good. Sleep quality is likely to decrease after surgery. Every hour observation of sleep quality in ICU by nurses was similar to that of patient self-evaluation sleep quality. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 48-58 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/55133 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การประเมินการนอนหลับ | en_US |
dc.subject | การสังเกตการนอนหลับ | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ | en_US |
dc.subject | หน่วยวิกฤต | en_US |
dc.subject | Sleep quality assessment | en_US |
dc.subject | Sleep observation pattern | en_US |
dc.subject | Post heart surgery patients | en_US |
dc.subject | ICU | en_US |
dc.subject | พยาบาล | en_US |
dc.title | การรับรู้คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ในหน่วยวิกฤต | en_US |
dc.title.alternative | Perception of sleep quality among cardiac surgery patients in intensive care unit | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication |