Publication:
ผลของกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ Sepsis

dc.contributor.authorเพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์en_US
dc.contributor.authorPensri Onswadipongen_US
dc.contributor.authorกรองกาญจน์ สังกาศen_US
dc.contributor.authorKrongkan Sungkarden_US
dc.contributor.authorศศิมา กุสุมา ณ อยุธยen_US
dc.contributor.authorSasima Kusuma Na Ayuthyaen_US
dc.contributor.authorยงค์ รงค์รุ่งเรืองen_US
dc.contributor.authorYong Rongrungruanen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2018-02-23T08:13:56Z
dc.date.available2018-02-23T08:13:56Z
dc.date.created2018-02-23
dc.date.issued2554
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยกลุ่มอาการ sepsis ที่ได้รับกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรก กับผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าเป็นกลุ่มอาการ sepsis และเข้าพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม และหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน จํานวน 70 ราย แบ่งกลุ่มละ 35 ราย ด้วยวิธีจับฉลาก กลุ่มทดลอง คือกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกและกลุ่มควบคุมคือกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือสําหรับใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1 แนวปฏิบัติการพยาบาลแบบมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกของกลุ่มอาการ Sepsis 2 แบบประเมินอวัยวะล้มเหลว “SOFA score” วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบ Mann-Whitney U test ผลการวิจัย: พบว่าเมื่อครบ 48 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่ได้รับกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรก มีคะแนนเฉลี่ย SOFA score น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ผู้ป่วยที่ได้รับกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ 11 อัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 2.86 สรุปและข้อเสนอแนะ: การใช้กิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรก ในผู้ป่วยกลุ่มอาการ sepsis สามารถช่วยชะลอความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลว ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ ดังนั้นพยาบาลและทีมสุขภาพควรตระหนักถึงความสําคัญ และนํากิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกไปใช้ในผู้ป่วยกลุ่มอาการ sepsis ทุกรายen_US
dc.description.abstractPurpose: To assess efficacy of the goal-directed nursing intervention within the first six hours compared with the routine nursing care in the patients with sepsis syndrome.Design: The quasi-experimental research.Methods: The sample consisted of medical patients with sepsis syndrome and had been admitted to the medical unit and intensive care unit at Lerdsin hospital, Bangkok, Thailand. Seventy patients were recruited and assigned to a control or intervention group by using a simple random sampling technique. The Intervention group received early goal-directed nursing intervention, while the control group received routine nursing care. The research instrument guideline were collected through 1) The early goal-directed nursing intervention within the first six hours in the patients with sepsis syndrome. 2) The Sequential Organ Failure Assessment “SOFA”. The Mann-Whitney U Test method was used to analyze the data. Main findings: The results revealed within 48 hours that levels of severity of organ failure in the early goal-directed nursing intervention group were significantly lower than in the control group (p < .05). Patients’ complication in the intervention group was 11% lower, mortality rate was 2.86% lower when compared with the control group.Conclusion and recommendations: The findings of this study suggest that patients with sepsis syndrome may benefit from early goal-directed nursing intervention. It can help reduce the severity of organ failure, complication and mortality rate. The researcher suggests that nurses as well as other health care personnel should use the early goal-directed nursing intervention to patients with sepsis syndrome.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29 (ฉ. เพิ่มเติม 1), ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2554), 102-110en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/8800
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกen_US
dc.subjectความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวen_US
dc.subjectผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ Sepsisen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleผลของกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ Sepsisen_US
dc.title.alternativeThe Effect of Early Goal-Directed Nursing Intervention on Severity of Organ Failure in Patients with Sepsis Syndromeen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/2823

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-krongkan-2554.pdf
Size:
306.13 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections