Publication:
ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

dc.contributor.authorรัตติกาล พรหมพาหกุลen_US
dc.contributor.authorวิราพรรณ วิโรจน์รัตน์en_US
dc.contributor.authorดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศen_US
dc.contributor.authorกีรดา ไกรนุวัตรen_US
dc.contributor.authorRuttikarn Prompahakulen_US
dc.contributor.authorVirapun Wirojratanaen_US
dc.contributor.authorDoungrut Wattakritkrailearten_US
dc.contributor.authorKerada Krainuwaten_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลรากฐานen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์.en_US
dc.date.accessioned2020-12-30T08:23:05Z
dc.date.available2020-12-30T08:23:05Z
dc.date.created2563-12-30
dc.date.issued2563
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง จำนวน 54 คน คัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าและสุ่มแบ่งกลุ่มโดยใช้แบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์เป็นกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 27 คน และกลุ่มทดลอง 27 คน โปรแกรมการกำกับตนเองที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสาน ใช้เวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการให้ความรู้และการทำกิจกรรมกลุ่มในสัปดาห์ที่ 1 และ 2 โทรศัพท์ติดตามในสัปดาห์ที่ 3, 5 และ 7 ส่วนในกลุ่มควบคุมได้รับการบริการตามปกติ ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารก่อนและหลังสิ้นสุดโปรแกรมในสัปดาห์ที่ 9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ไคสแควร์ และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย: ภายหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 9 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (p < .001) และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการกำกับตนเองทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารดีขึ้นใน 8 สัปดาห์ พยาบาลควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ดีขึ้นen_US
dc.description.abstractPurpose: To examine the effect of self-regulation program on dietary behavior among older adults with uncontrolled type 2 diabetes. Design: Randomized controlled trial. Methods: The sample was 54 older adults with uncontrolled type 2 diabetes. The participants, who received treatment from a diabetes clinic at a community hospital in Trang province, were randomized using complete block design and divided into experimental and control groups with 27 participants each, based on inclusion criteria. The self-regulation program based on the integrated health behaviour change theory was conducted over a period of 8 weeks. The experimental group received both routine care and educational sessions with group activities at weeks one and two followed by telephone monitoring at weeks three, five and seven. The control group received only routine care. Their dietary behavior was assessed at baseline and at week nine. Data were analyzed by descriptive statistics, chi-square test, and t-test. Main findings: At week nine, the mean difference in dietary behavior of the experimental group was significantly higher than that at baseline (p < .001) and of the control group (p < .001). Conclusion and recommendations: This study showed that the self-regulation program was effective by enhancing dietary behaviour within 8 weeks. Nurses should apply this program with older adults with uncontrolled type 2 diabetes to enhance their dietary behavior.en_US
dc.description.sponsorshipวิทยานิพนธ์นี้ได้รับทุนอุดหนุนบางส่วนจากสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 38, ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2563), 32-45en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60622
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโรคเบาหวานชนิดที่ 2en_US
dc.subjectพฤติกรรมการรับประทานอาหารen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectการกำกับตนเองen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.subjectdiabetes mellitus type 2
dc.subjectdietary behavior
dc.subjectolder adults
dc.subjectself-regulation
dc.titleผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้en_US
dc.title.alternativeThe Effect of Self-regulation Program on Dietary Behavior among Older Adults with Uncontrolled Type 2 Diabetesen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/240038

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-virapun-2563.pdf
Size:
229.1 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections