Publication:
ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้และการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดชนิดไม่เขียวของผู้ดูแล

dc.contributor.authorแพรวดาว พันธุรัตน์en_US
dc.contributor.authorPrawdao Panturuten_US
dc.contributor.authorวนิดา เสนะสุทธิพันธุ์en_US
dc.contributor.authorWanida Sanasuttipunen_US
dc.contributor.authorทัศนี ประสบกิตติคุณen_US
dc.contributor.authorTassanee Prasopkittikunen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์en_US
dc.contributor.otherกระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีen_US
dc.date.accessioned2018-02-09T08:10:45Z
dc.date.available2018-02-09T08:10:45Z
dc.date.created2018-02-09
dc.date.issued2554
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้และการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดชนิดไม่เขียวของผู้ดูแล รูปแบบการวิจัย:การวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลที่นําเด็กเข้ารับการรักษาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นผู้ดูแลเพศหญิงมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดชนิดไม่เขียวที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติ อายุ 3 เดือน - 1 ปี ซึ่งเข้ารับการรักษาด้วยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นเวลาติดต่อกัน 5 วัน เป็นชุดกิจกรรมที่จัดให้ผู้ดูแลเกิดการเรียนรู้ข้อมูลจากแหล่งกําเนิดการสร้างการรับรู้สมรรถนะของตนเองทั้ง 4 แหล่งของแบนดูราได้แก่ ประสบการณ์ความสําเร็จของตนเอง การสังเกตประสบการณ์ของผู้อื่น การใช้คําพูดชักจูง การสนับสนุนสภาวะทางสรีระและอารมณ์ ร่วมกับการให้ความรู้ในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดชนิดไม่เขียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมความรู้และการรับรู้สมรรถนะของตนเอง แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลและเด็กและแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดชนิดไม่เขียววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบที ผลการวิจัย: ก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สมรรถนะของตนเองระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน (t = 1.029, p > .05) และเมื่อเปรียบเทียบหลังการทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สมรรถนะของตนเองในกลุ่มทดลองสูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t = - 6.705, p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมส่งเสริมความรู้และการรับรู้สมรรถนะของตนเองมีผลให้การรับรู้สมรรถนะในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดชนิดไม่เขียวของผู้ดูแลเพิ่มขึ้นและควรส่งเสริมการนําโปรแกรมไปใช้ในการดูแลช่วยเหลือผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดชนิดไม่เขียว อายุ 3 เดือน - 1 ปี ที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติen_US
dc.description.abstractPurpose: The purpose of this study was to examine the effect of knowledge and self-efficacy enhancement program on self-efficacy of caregivers of children with acyanotic congenital heart disease.Design: A quasi-experimental research, pretest-posttest control group design.Methods: The study subjects were caregivers of children aged 3-12 months with acyanotic congenital heart disease and not yet receiving a surgery. These children were admitted to the Queen Sirikit National Institute of Child Health due to certain complications. Eligible subjects had to be female and had bloody relation to the children. The subjects selected by convenience sampling were divided into control and experimental groups with 15 each. The control group received usual care while the experimental group received the knowledge and self-efficacy enhancement program for 5 consecutive days. The program contained a set of activities based on the sources of self-efficacy proposed by Bandura. The instruments consisted of demographic data form and self-efficacy in providing care for children with acyanotic congenital heart disease questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and independent t-test.Main findings: Results revealed that the baseline self-efficacy scores in both groups of the study were not significantly different (p > .05). After participating in the program, mean self-efficacy score of caregivers in the experimental group was significantly higher than that in the control group (t = -6.705, p < .001).Conclusion and recommendations: These results indicated that the knowledge and self-efficacy enhancement program had positive effect in raising self-efficacy of caregivers of children with acyanotic congenital heart disease. A further application of the program should be promoted and implemented in nursing practice to assist caregivers of children with congenital heart disease.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 29, ฉบับที่ 4, (ต.ค. - ธ.ค. 2554), 46-53en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/8732
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectเด็กโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดชนิดไม่เขียวen_US
dc.subjectการรับรู้สมรรถนะของตนเองen_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้และการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดชนิดไม่เขียวของผู้ดูแลen_US
dc.title.alternativeEffect of Knowledge and Self-efficacy Enhancement Program on Self-efficacy of Caregivers of Children with Acyanotic Congenital Heart Diseaseen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/2844

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-wanida-2554.pdf
Size:
1.7 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections