Publication: ผลของโปรแกรมการออกกําลังกายโดยการแกว่งแขนร่วมกับครอบครัวต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
Issued Date
2555
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 30, ฉบับที่ 1 (เม.ย. -มิ.ย. 2555), 46-57
Suggested Citation
ยุพา จิ๋วพัฒนกุล, Yupa Jewpattanakul, อุบลวรรณา เรือนทองดี, Ublowanna Reungthongdee, ฐิติรัตน์ ทับแก้ว, Thitrirat Tabkaew ผลของโปรแกรมการออกกําลังกายโดยการแกว่งแขนร่วมกับครอบครัวต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 30, ฉบับที่ 1 (เม.ย. -มิ.ย. 2555), 46-57. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/9909
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของโปรแกรมการออกกําลังกายโดยการแกว่งแขนร่วมกับครอบครัวต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
Alternative Title(s)
The Effect of the Arm Swing Exercise with Family Participation Program on Exercise Behavior in Elderly with Essential Hypertension
Other Contributor(s)
Abstract
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกําลังกายโดยการแกว่งแขนร่วมกับครอบครัว ต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุรูปแบบการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย: ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุจาก 8 หมู่บ้าน ที่มารับการรักษาที่คลินิกอายุรกรรมของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งถูกเลือกเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 31 คน โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการออกกําลังกายโดยการแกว่งแขน ร่วมกับได้รับการช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวขณะออกกําลังกาย ส่วนกลุ่มควบคุมออกกําลังกายโดยการแกว่งแขนแต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัว เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดพฤติกรรมการออกกําลังกายก่อนและหลังการทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัย: ภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมการออกกําลังกาย พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการออกกําลังกายดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในด้านของระยะเวลาที่ออกกําลังกายต่อวัน (p < .001) จํานวนวันออกกําลังกายต่อสัปดาห์ (p < .05) และ จํานวนครั้งของการแกว่งแขนแต่ละท่า (p < .001), สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาให้ข้อเสนอแนะว่าในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกําลังกาย ควรให้สมาชิกของครอบครัวได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วยการให้กําลังใจและสนับสนุนด้านต่างๆ แก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอ
Purpose: To examine the effect of family support on developing exercise behavior among elderlywith essential hypertension using the arm swing exercise program.Design: Quasi-experimental research design.Methods: From 8 villages, sixty-two essential hypertension patients at a medical clinic of onehospital were randomly selected into the experimental and control groups with 31 each. Theexperimental group received the arm swing exercise program with family members supporting duringthe program, while those in the control group did the exercise without family participation. Data werecollected through the exercise behavior questionnaire before and after the program, and were tested bypaired t-test and independent t-test.Main findings: After receiving the program, the exercise behaviors of the experimental group weresignificantly better than that of the control group in terms of the time used in daily exercise (p < .001),frequency of exercise during a week (p < .05), and number of arm swing (p < .001).Conclusion and recommendations: The study findings suggest that exercise promoting programshould involve family members to help encouraging and supporting the elderly to exercise consistently
Purpose: To examine the effect of family support on developing exercise behavior among elderlywith essential hypertension using the arm swing exercise program.Design: Quasi-experimental research design.Methods: From 8 villages, sixty-two essential hypertension patients at a medical clinic of onehospital were randomly selected into the experimental and control groups with 31 each. Theexperimental group received the arm swing exercise program with family members supporting duringthe program, while those in the control group did the exercise without family participation. Data werecollected through the exercise behavior questionnaire before and after the program, and were tested bypaired t-test and independent t-test.Main findings: After receiving the program, the exercise behaviors of the experimental group weresignificantly better than that of the control group in terms of the time used in daily exercise (p < .001),frequency of exercise during a week (p < .05), and number of arm swing (p < .001).Conclusion and recommendations: The study findings suggest that exercise promoting programshould involve family members to help encouraging and supporting the elderly to exercise consistently
Sponsorship
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล