Publication:
ผลของการนวดขาและเท้าต่อความปวดอัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า

dc.contributor.authorพิชญาภา พาเชื้อen_US
dc.contributor.authorทิพวัลย์ ดารามาศen_US
dc.contributor.authorเรณู พุกบุญมีen_US
dc.contributor.authorPitchayaphar Pharchuaen_US
dc.contributor.authorTipawan Daramasen_US
dc.contributor.authorRenu Pookboonmeeen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีen_US
dc.date.accessioned2019-08-19T06:55:43Z
dc.date.available2019-08-19T06:55:43Z
dc.date.created2562-08-19
dc.date.issued2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบข้ามสลับ เพื่อศึกษาผลของการนวดขาและเท้า ต่อการลดความปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อนกำหนด โดยศึกษาพฤติกรรม การตอบสนองต่อความปวด การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ และการเปลี่ยนแปลงของ ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 30 ราย ที่เข้ารับ การรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2558 คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และทำการสุ่มว่าจะได้รับเหตุการณ์ใดก่อน กลุ่มตัวอย่างจะได้รับทั้ง เหตุการณ์ทดลอง และเหตุการณ์ควบคุม ในคนเดียวกัน เหตุการณ์ทดลองทารกได้รับการนวดขาและ เท้าก่อนเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า และเหตุการณ์ควบคุมทารกได้รับการพยาบาลตามปกติก่อนเจาะ เลือดบริเวณส้นเท้า บันทึกวีดีทัศน์ในระหว่างการทดลอง ประเมินพฤติกรรมการตอบสนองต่อความ ปวดโดยใช้แบบประเมิน The Neonatal Infant Pain Scale วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของ คะแนนความปวด อัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดโดยใช้สถิติ paired t-test และ Wilcoxon’s signed-rank test ผลการศึกษาพบว่า ทารกเกิดก่อนกำหนดระยะที่ได้รับการ นวดขาและเท้าก่อนการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า มีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดขณะเจาะเลือดบริเวณ ส้นเท้า และหลังเจาะเลือดบริเวณส้นเท้านาทีที่ 5 มากกว่าทารกเกิดก่อนกำหนดระยะที่ได้รับการ พยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังเจาะเลือดบริเวณ ส้นเท้านาทีที่ 1, 3, 7, และ 10 ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจและค่าเฉลี่ยความอิ่มตัวของออกซิเจน ในเลือดทุกช่วงเวลาของทั้งสองระยะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น จึงควรทำการ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการนวดและระยะเวลาในการนวดที่มีผลต่อการลดความปวดในทารก เกิดก่อนกำหนดen_US
dc.description.abstractThe present study was quasi-experimental research with a one-group crossover design, which aimed at investigating the effect of leg and foot massage on pain and physiological responses to pain, including heart rates and oxygen saturation, in preterm infants undergoing heel stick. The study subjects were 30 premature infants who were admitted into the Newborn Intensive Care Unit (NICU) from June 2015 to October 2015. The subjects were purposively and randomly assigned in order of treatment to both experimental and controlled conditions, receiving leg and foot massage and no massage prior to heel stick, respectively. Audio-visual recording was used during the heel stick procedure. The Neonatal Infant Pain Scale was used to measure pain scores. Paired t-tests and Wilcoxon’s signed-rank test were used to analyze the pain score, oxygen saturation, and heart rate. The results showed that the mean pain score during and after heel stick at 5 minutes in the experimental conditions was greater than the controlled conditions with statistical significant difference, whereas the mean pain score after heel stick at 1, 3, 7, and 10 minutes, mean heart rate, and mean oxygen saturation during heel stick at every time period showed no statistical significant difference. Additional studies should be conducted to examine the influence of massage and the duration of massage on pain reduction in preterm infants.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561), 279-294en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44587
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการนวดen_US
dc.subjectเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าen_US
dc.subjectความปวดen_US
dc.subjectทารกเกิดก่อนกำหนดen_US
dc.subjectMassageen_US
dc.subjectHeel sticken_US
dc.subjectPainen_US
dc.subjectPreterm infantsen_US
dc.titleผลของการนวดขาและเท้าต่อความปวดอัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าen_US
dc.title.alternativeEffects of Leg and Foot Massage on Pain, Heart Rate, and Oxygen Saturation in Preterm Infants Undergoing Heel Sticken_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/119314/119682

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-tipawan-2561-3.pdf
Size:
812.65 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections