Publication:
โต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ สำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวกรณีนั่งเก้าอี้ล้อเข็น

dc.contributor.authorพรพรรณ สมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorไชยพิพัฒน์ ปกป้องen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดาen_US
dc.date.accessioned2015-02-23T10:34:17Z
dc.date.accessioned2017-02-17T02:58:52Z
dc.date.available2015-02-23T10:34:17Z
dc.date.available2017-02-17T02:58:52Z
dc.date.created2558-02-23
dc.date.issued2550
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวกรณีนั่งเก้าอี้ล้อเข็น มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย คือ 1) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น 2) ออกแบบโต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบที่เหมาะสมสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวกรณีนั่งเก้าอี้ล้อเข็น 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) จัดทำโต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบและทดสอบการใช้งาน 5) สรุปผลการวิจัย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง และผู้ให้ข้อมูลคือคนพิการที่เข้าอบรมวิชาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จำนวน 4 คน เก็บรวบรวมมูลโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับโต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่าความถี่และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าได้โต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวกรณีนั่งเก้าอี้ล้อเข็น และจากการทดสอบการใช้งานโต๊ะดังกล่าวพบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นว่าโต๊ะที่ออกแบบมีความง่ายในการติดตั้งและการดูแลรักษา มีขนาดและโครงสร้างเหมาะสม มีความปลอดภัยในการใช้งานจัดอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีความสะดวกในการใช้งานและมีความเหมาะสมในการผลิตเชิงพาณิชย์จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีของโต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบในเรื่องการค้นหาอะไหล่ที่มีขนาดเล็กได้ง่าย การประหยัดเนื้อที่ที่ใช้วางโต๊ะ การขนย้ายโต๊ะสะดวกและการมีแท่นหมุนช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้น อย่างไรก็ตาม โต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบมีข้อบกพร่องในด้านความยากในการปรับระดับความสูงต่ำของโต๊ะให้หน้าโต๊ะเสมอกันและการบิดเบี้ยวของขาโต๊ะ ตำแหน่งของกระจกสะท้อนภาพและปลั๊กไฟไม่เหมาะสม ขนาดของร่องกันอุปกรณ์ตกพื้นและลิ้นชักไม่เหมาะสม โคมไฟที่ใช้ไม่เหมาะกับลักษณะของงาน ควรเพิ่มแผงกันตกด้านข้างและลดความยาวของโต๊ะให้อยู่ในระยะมือเอื้อม จึงควรปรับปรุงข้อบกพร่องของโต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบดังกล่าวเพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานต่อไปen_US
dc.description.abstractThis study aims toresearch and develop a working desk prototype for wheel-chaired electronic mechanics. The method of the study includes (1) preliminary study (2) design of working desk prototype for wheel-chaired electronic mechanics (3) inspection of the suitability and feasibility of the design by experts (4) construction of the prototype and use tests (5) conclusions of the study. The informants of the study are the wheel-chaired trainees in the electronic vocational development program of the Phrapradaeng Vocational Rehabilitation Center for the Disabled Person (PVRC), 4 persons. Collect data by using questionnaire and interviewing to evaluate the prototype. Analyze data by using descriptive statistics (frequency count) and content analysis. In conclusion, this research led to the development of a prototype of specially designed working table for repair and maintenance of electric equipment for physically impaired or wheel chaired-bound persons. The informants evaluated the prototype in the high to highest levels in the following aspect: convenience in installation and maintenance, size and structural suitability, and working safety. They evaluated the prototype in the moderate to highest levels in the following aspect: convenience of use, and commercial production. The informants are recommended that the prototype is good in easy to find small peaces of equipment, safe space, convenience to move and having the wheel-plate help them work easily. However, they recommended that the prototype has defect in these areas: difficult to adjust the equal level of the table, twist of the table's legs, position of the mirror and the plug are not suitable, size of the drawer and the gutter preventing equipments falling down are not suitable, the lamp is not suitable for the job, there should be a preventing frame on the edge of the table to prevent things on the table from falling down and the length of the table should be reduced to match with the arm length of the user. So, the working desk prototype for wheel-chaired electronic mechanics should have modifications as suggested by the sample for the usage of using the prototype.
dc.identifier.citationวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1-2 (2550), 74-89en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1265
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบen_US
dc.subjectคนพิการทางการเคลื่อนไหวen_US
dc.subjectเก้าอี้ล้อเข็นen_US
dc.subjectวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
dc.subjectOpen Access article
dc.subjectJournal of Ratchasuda College, Research and Development of Persons With Disabilities
dc.titleโต๊ะซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ สำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวกรณีนั่งเก้าอี้ล้อเข็นen_US
dc.title.alternativeWorking desk prototype for wheel-chaired electronic mechanics
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttp://www.rs.mahidol.ac.th/rs-journal/vol.3/v.3-1-006.pdf

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
rs-ar-pornpan-2550.pdf
Size:
2.36 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections