Publication: ผลของการใช้นมแม่ร่วมกับการนวดปากกระตุ้นการดูดกลืนต่อประสิทธิภาพ การดูดนมในทารกเกิดก่อนกำหนด
dc.contributor.author | วิภาวรรณ ชัยลังกา | en_US |
dc.contributor.author | ทิพวัลย์ ดารามาศ | en_US |
dc.contributor.author | ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล | en_US |
dc.contributor.author | Wiphawan Chailangka | en_US |
dc.contributor.author | Tipawan Daramas | en_US |
dc.contributor.author | Chuanruedee Kongsaktrakul | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-07-08T08:39:42Z | |
dc.date.available | 2019-07-08T08:39:42Z | |
dc.date.created | 2562-07-08 | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้นมแม่ร่วมกับการนวด ปากกระตุ้นการดูดกลืนต่อประสิทธิภาพการดูดนมของทารกเกิดก่อนกำหนด ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 31-34 สัปดาห์ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในระหว่าง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ กำหนดจำนวน 30 ราย สุ่มด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเลือกเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุม โดยที่กลุ่มทดลองได้รับการใช้นมแม่ร่วมกับการนวดปาก และกลุ่มควบคุมได้รับการนวดปากเพียง อย่างเดียว ใช้วิธีการนวดของเลสเซน โดยนวดแก้ม ริมฝีปาก รอบปาก เหงือก ลิ้น และเพดานปาก ทำการนวดครั้งละ 5 นาที วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน และวัดประสิทธิภาพการดูดนมของทารก โดยคำนวณจากร้อยละเฉลี่ยของปริมาณนมที่ทารกดูดได้ ใน 5 นาทีแรกของการดูดนม และวัด 2 มื้อติดกันในวันที่ 1, 3, และ 5 ของการดูดนมทางปาก วิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างของ ประสิทธิภาพการดูดนมโดยใช้สถิติ Repeated measures ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพ การดูดนมในวันที่ 1, 3, และ 5 ของทารกที่ใช้นมแม่ร่วมกับการนวดปากดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการ นวดปากเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง ปฏิบัติในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดนมในทารกเกิดก่อนกำหนด | en_US |
dc.description.abstract | The aim of this quasi-experimental research was to investigate the effect of expressed breast milk with oral stimulation on feeding efficiency in preterm infants. The study sample was recruited based on the inclusion criteria from preterm infants who had gestational age (GA) ranging from 31 to 34 weeks who were admitted into the newborn ward at tertiary hospital between March and September, 2016. Each of the sample of 30 preterm infants was randomly assigned, using generated random numbers, to the control group or experimental group. The preterm infants in the experimental group received expressed breast milk with oral stimulation and the control group received only oral stimulation as developed by Lessen. The oral stimulation provided assisted movement for the cheeks, lips, gum, tongue and palate. The intervention was given once a day, for 5 minutes, totaling 7 consecutive days. Feeding efficiency is referred to as the average percentage of the amount of milk that the infants could suck and swallow for first 5 minutes and average amount was measured during 2 consecutive meals on 1, 3, and 5 days. Difference in the feeding efficiency between the subjects in the experimental and the control group were determined with the repeated measures ANOVA. The result showed that the feeding efficiency on 1, 3, and 5 days of the preterm babies who received expressed breast milk with oral stimulation had better feeding efficiency than the infants who received only oral stimulation with a statistical significance. This study could be used as a guideline to promote the feeding efficiency in preterm infants. | en_US |
dc.identifier.citation | รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 24, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2561), 25-36 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9739 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2672-9784 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44270 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | นมแม่ | en_US |
dc.subject | การนวดปากกระตุ้นการดูดกลืน | en_US |
dc.subject | ประสิทธิภาพการดูดนม | en_US |
dc.subject | ทารกเกิดก่อนกำหนด | en_US |
dc.subject | Expressed breast milk | en_US |
dc.subject | Oral stimulation | en_US |
dc.subject | Feeding efficiency | en_US |
dc.subject | Premature infants | en_US |
dc.title | ผลของการใช้นมแม่ร่วมกับการนวดปากกระตุ้นการดูดกลืนต่อประสิทธิภาพ การดูดนมในทารกเกิดก่อนกำหนด | en_US |
dc.title.alternative | Effect of Expressed Breast Milk with Oral Stimulation on Feeding Efficiency in Preterm Infants | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/94749/100761 |