Publication: การศึกษาภาวะเลือดออกภายหลังการถอนฟันในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการเกิดลิ่มเลือดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเลือดออก
dc.contributor.author | นิวัฒน์ พันธ์ไพศาล | en_US |
dc.contributor.author | วิภาภรณ์ โชคชัยวรกุล | en_US |
dc.contributor.author | Niwat Phanpaisan | en_US |
dc.contributor.author | Wipaporn Chokchaivorrakul | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-10T16:08:50Z | |
dc.date.available | 2020-04-10T16:08:50Z | |
dc.date.created | 2563-04-10 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะเลือดออกภายหลังการถอนฟันในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งอาจจะเป็นยาต้านเกล็ดเลือดและ/หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด; วาร์ฟาริน โดยผู้ป่วยรับประทานยาต้านการเกิดลิ่มเลือดอย่างต่อเนื่องก่อนการถอนฟัน การศึกษานี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการถอนฟันที่งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากเวชระเบียนผู้ป่วยย้อนหลัง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2554 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 จำนวนทั้งหมด 412 ราย เป็นชาย 243 ราย หญิง 169 ราย ช่วงอายุ 25 – 98 ปี โดยผู้ป่วยทั้งหมด 412 รายนี้ 330 รายได้รับยาต้านเกล็ดเลือดอย่างเดียว 59 รายได้รับยาวาร์ฟารินอย่างเดียว และ 23 รายได้รับยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับยาวาร์ฟาริน จำนวนฟันที่ถูกถอนทั้งหมด 648 ซี่ ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์ของภาวะเลือดออกภายหลังการถอนฟันในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการเกิดลิ่มเลือดเกิดขึ้น 11 ราย (ร้อยละ 2.7) โดยผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินเกิดภาวะเลือดออกมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านเกล็ดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผู้ป่วยทั้ง 11 รายได้รับการรักษาโดยการห้ามเลือดเฉพาะที่ | en_US |
dc.description.abstract | The objective of this study is to investigate the incidence of postoperative bleeding after dental extraction in patients receiving antithrombotic drugs (antiplatelet drug and/or anticoagulant drug; warfarin). Dental extraction was performed while the patients continued taking oral antithrombotic drugs. We collected clinical data of patients in whom dental extractions were performed at Dental Division, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University from chart records retrospectively between August 2011 and February 2013. The total of 412 patients, 243 patients were men and 169 patients were women. Their ages ranged from 25 to 98 years. Among the 412 antithrombotic patients, 330 received antiplatelet monotherapy, 59 received warfarin monotherapy, and 23 received antiplatelet and warfarin combination therapy. The total of 648 teeth had been extracted. The result of this study showed that incidence of postoperative bleeding after dental extraction in patients receiving antithrombotic drugs occurred in 11 patients (2.7%). Postoperative bleeding in warfarin patients were significantly higher than antiplatelet patients. All of 11 patients were treated by local hemostatic measures. | en_US |
dc.identifier.citation | วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2558), 25-35 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/54070 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ภาวะเลือดออกภายหลังการถอนฟัน | en_US |
dc.subject | ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด | en_US |
dc.subject | ยาต้านเกล็ดเลือด | en_US |
dc.subject | ยาต้านการแข็งตัวของเลือด | en_US |
dc.subject | ทันตแพทย์ | en_US |
dc.title | การศึกษาภาวะเลือดออกภายหลังการถอนฟันในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการเกิดลิ่มเลือดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเลือดออก | en_US |
dc.title.alternative | Incidence of Postoperative Bleeding After Dental Extraction in Patients Receiving Antithrombotic Drugs. | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication |