Publication: แนวทางพัฒนาการให้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2562
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), 372-395
Suggested Citation
สุพัตรา เกียรติเลิศธรรม, Supattra Keiltleartthum แนวทางพัฒนาการให้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), 372-395. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/54352
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
แนวทางพัฒนาการให้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
Ways to Develop the Faculty of Social Sciences and Hdmanities' Library Service
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง แนวทางพัฒนาการให้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและบุคคลทั่วไป 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการให้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการเก็บตัวอย่างจากผู้ใช้บริการจำนวน 120 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการห้องสมุด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 19 – 23 ปี เป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความถี่ของการเข้าใช้บริการห้องสมุดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ช่วงเวลาการเข้าใช้บริการส่วนใหญ่มีช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน และเวลาการใช้บริการอยู่ที่ น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุดคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า ใน 1) ด้านทรัพยากรห้องสมุด มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ เอกสารงานวิจัย/วารสารวิชาการ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือความรู้ทั่วไปในสาขาต่าง ๆ นิตยสารทั่วไป/หนังสือพิมพ์ ตำราวิชาการ/หนังสืออ่านประกอบ 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีความต้องการอยู่ในระดับมาก เช่น มุมอ่านหนังสือ การให้บริการเครือข่ายไร้สาย (WIFI) ห้องอ่านหนังสือกลุ่ม และเครื่องคอมพิวเตอร์สืบค้นหนังสือ/สืบค้นข้อมูล 3) ด้านการประชาสัมพันธ์ มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การมีเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลห้องสมุด เอกสารแนะนำการใช้บริการห้องสมุด การประชาสัมพันธ์ข่าวการให้บริการ การฝึกอบรมและมีกิจกรรมให้ผู้ใช้บริการได้ร่วมสนุกกับห้องสมุด 4) ด้านการบริการ มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ขั้นตอนการให้บริการเป็นระบบมีความสะดวกรวดเร็ว มีการให้บริการเพิ่มเติมในวันเสาร์และวันอาทิตย์ การจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศบนชั้นถูกต้องง่ายต่อการค้นหา มีระบบการยืม-คืนทรัพยากรห้องสมุด บริการสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ 5) ด้านบุคลากรมีความต้องการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การให้บริการด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดี กระตือรือร้นในการให้บริการ และความรู้ความสามารถในการแนะนำให้ข้อมูล
The study, "Ways to Develop the Faculty of Social Sciences and Humanities' Library Service", was quantitative research aiming to study students, faculty members and office staffs' needs in their use of the library service. Data were collected from 120 samples. Findings showed that most of the library users were female, aged between 19-23 years old, studying in the undergraduate level at the Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University. The frequency of their use was once a week. The time of service use was not certain while the duration was less than one hour per time. The findings on their needs showed as follows. Library resources: The needs were in the high level for research documents and journals, e-resources, general knowledge books, magazines and newspaper, textbooks and outside readings. Facilities: The needs were in the high level, for instance, for a reading corner, WIFI service, compartments for small reading groups, and computers for information search. Public relation: the needs were in the high level for a library web site, leaflets, guidelines of library use, news announcements, training and library activities for library users to participate. Service: The needs were in the high level for convenient and systematic service, service on weekends, accurate organization of books on the shelves, availability of borrow and return service and audio-visual and electronic medias . Library staff: The needs were in the high level for friendly and enthusiastic service, and ability to provide information and recommendations.
The study, "Ways to Develop the Faculty of Social Sciences and Humanities' Library Service", was quantitative research aiming to study students, faculty members and office staffs' needs in their use of the library service. Data were collected from 120 samples. Findings showed that most of the library users were female, aged between 19-23 years old, studying in the undergraduate level at the Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University. The frequency of their use was once a week. The time of service use was not certain while the duration was less than one hour per time. The findings on their needs showed as follows. Library resources: The needs were in the high level for research documents and journals, e-resources, general knowledge books, magazines and newspaper, textbooks and outside readings. Facilities: The needs were in the high level, for instance, for a reading corner, WIFI service, compartments for small reading groups, and computers for information search. Public relation: the needs were in the high level for a library web site, leaflets, guidelines of library use, news announcements, training and library activities for library users to participate. Service: The needs were in the high level for convenient and systematic service, service on weekends, accurate organization of books on the shelves, availability of borrow and return service and audio-visual and electronic medias . Library staff: The needs were in the high level for friendly and enthusiastic service, and ability to provide information and recommendations.