Publication: ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิ
Issued Date
2566
Resource Type
Resource Version
Accepted Manuscript
Language
tha
ISSN
2822-1370 (Print)
2822-1389 (Online)
2822-1389 (Online)
Journal Title
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล
Volume
29
Issue
3
Start Page
303
End Page
318
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ฝ่ายการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ฝ่ายการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 29, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2566), 303-318
Suggested Citation
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. ปีที่ 29, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2566), 303-318. 318. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98960
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิ
Alternative Title(s)
Risk Factors of Catheter-Associated Urinary Tract Infection in a Tertiary-care Medical Center
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง เพื่อศึกษาอัตราและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยพิเศษและหอผู้ป่วยวิกฤตศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดีระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม-31 ธันวาคม พ.ศ 2563 จำนวน 994 ราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และแบบเก็บข้อมูลการใส่สายสวนปัสสาวะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรนาและ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า อัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะเท่ากับ 5.67 ครั้งต่อ 1,000 วันที่คาสายสวนปัสสาวะ พบอัตราการติดเชื้อที่หอผู้ป่วยพิเศษอายุรกรรมและหอผู้ป่วยวิกฤต คิดเป็น 21.11 และ 4.39 ครั้งต่อ 1,000 วันที่คาสายสวนปัสสาวะ ตามลำดับ
การวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก พบว่า ปัจจัยทำนายการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้แก่เพศ โรคหัวใจวายการติดเชื้อบริเวณอื่นของร่างกาย และจำนวนวันที่คาสายสวนปัสสาวะ โดยสามารถอธิบายความผันแปรของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ร้อยละ 39.2 ซึ่งการติดเชื้อบริเวณอื่นของร่างกายและจำนวนวันที่คาสายสวนปัสสาวะสามารถทำนายโอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้อย่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ที่มีการติดเชื้อบริเวณอื่น มีโอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 14.46 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีการติดเชื้อ เมื่อควบคุมอิทธิพลของปัจจัยเพศ โรคหัวใจวาย และจำนวนวันที่คาสายสวนปัสสาวะโดยจำนวนวันที่คาสายสวนปัสสาวะที่เพิ่มขึ้น 1 วัน มีโอกาสเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 เมื่อควบคุุม
อิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ ในโมเดล ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรเพิ่มการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะในกลุ่มผู้ป่วยที่มี การติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกาย และจำเป็นต้องคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานานการทบทวนเพื่อถอดสายสวนปัสสาวะเมื่อหมดความจำเป็นสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้
This retrospective study aimed to identify the catheter-associated urinary tract infection rate and risk factors among patients admitted to a tertiary-care medical center in Bangkok.Participants included 994 patients with indwelling urinary catheters from October 1 to December 31, 2020. The research instruments comprised a personal information form and a urinary catheterization data collection form. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression analysis. Results revealed that the catheter-associated urinary tract infection rate was 5.67 per 1,000 catheter days, 21.11 and 4.39 per 1,000 in private medical wards and the intensive care unit, respectively. The logistic regression analysis model revealed that factors predicting catheter-associated urinary tract infections were gender,heart failure, infection of other body parts,and urinary catheter days. These variables could jointly explain the variance in catheter-associated urinary tract infections by 39.20%.Participants with infection of other body parts had the risk of catheter-associated urinary tract infections 14.46 times significantly compared with those without infection when controlled for variables of gender,heart failure, and catheter days.Also, a 1-day increase in catheter days significantly increased the risk of catheter-associated urinary tract infections by 7% after controlling for other variables. Therefore, healthcare professionals should closely monitor patients requiring long-term indwelling urinary catheters and infections of other body parts. Re-evaluating the reasons for indwelling urinary catheters is necessary to reduce the riskof catheter-associated urinary tract infections.
This retrospective study aimed to identify the catheter-associated urinary tract infection rate and risk factors among patients admitted to a tertiary-care medical center in Bangkok.Participants included 994 patients with indwelling urinary catheters from October 1 to December 31, 2020. The research instruments comprised a personal information form and a urinary catheterization data collection form. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression analysis. Results revealed that the catheter-associated urinary tract infection rate was 5.67 per 1,000 catheter days, 21.11 and 4.39 per 1,000 in private medical wards and the intensive care unit, respectively. The logistic regression analysis model revealed that factors predicting catheter-associated urinary tract infections were gender,heart failure, infection of other body parts,and urinary catheter days. These variables could jointly explain the variance in catheter-associated urinary tract infections by 39.20%.Participants with infection of other body parts had the risk of catheter-associated urinary tract infections 14.46 times significantly compared with those without infection when controlled for variables of gender,heart failure, and catheter days.Also, a 1-day increase in catheter days significantly increased the risk of catheter-associated urinary tract infections by 7% after controlling for other variables. Therefore, healthcare professionals should closely monitor patients requiring long-term indwelling urinary catheters and infections of other body parts. Re-evaluating the reasons for indwelling urinary catheters is necessary to reduce the riskof catheter-associated urinary tract infections.