Publication:
ผลของการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้ดูหรือไม่ให้ดูภาพประกอบต่อความวิตกกังวลของผู้หญิงที่มารับการตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักเป็นครั้งแรก

dc.contributor.authorอังคณา เพชรกาฬen_US
dc.contributor.authorประสงค์ ตันมหาสมุทรen_US
dc.contributor.authorอาริญา เฮงทวีทรัพย์สิริen_US
dc.contributor.authorกฤษณา สวัสดิ์ศรีen_US
dc.contributor.authorวรัทยา รุจิวีร์en_US
dc.contributor.authorAungkana Petkanen_US
dc.contributor.authorPrasong Tanmahasamuten_US
dc.contributor.authorAriya Hengthaveesapsirien_US
dc.contributor.authorKritsana Sawatsrien_US
dc.contributor.authorWarattaya Rujiweeen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาen_US
dc.date.accessioned2020-12-30T09:20:00Z
dc.date.available2020-12-30T09:20:00Z
dc.date.created2563-12-30
dc.date.issued2563
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลและความพึงพอใจของผู้หญิงระหว่างกลุ่มที่ได้รับข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้ดูและไม่ให้ดูภาพหัวตรวจและภาพหุ่นจำลองวิธีการอัลตราซาวนด์ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการตรวจอัลตราซาวนด์โดยวิธีการตรวจทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักเป็นครั้งแรก จำนวน 164 ราย เลือกโดยวิธีการสุ่มออกเป็นสองกลุ่ม โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการให้ข้อมูลเพื่อเตรียมตรวจฯ เหมือนกัน แตกต่างกันตรงที่ได้ดูกับไม่ได้ดูภาพหัวตรวจและภาพหุ่นจำลองวิธีการตรวจประกอบการให้ข้อมูล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดความวิตกกังวลโดยทั่วไปและขณะเผชิญ และแบบสอบถามความต้องการของผู้ป่วยในการดูภาพประกอบการให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบทีแบบสองกลุ่มอิสระ และแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน ผลการวิจัย: กลุ่มที่ได้ดูภาพและกลุ่มที่ไม่ได้ดูภาพประกอบมีคะแนนความวิตกกังวลและมีความพึงพอใจต่อกระบวนการให้ข้อมูลเพื่อเตรียมตรวจอัลตราซาวนด์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาแสดงว่าความเข้าใจในเนื้อหาข้อมูลมีความสำคัญกว่าการให้ดูภาพประกอบ ดังนั้นพยาบาลควรให้ความสำคัญกับการรับฟังเสียงสะท้อนของผู้ป่วย เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพูดคุยและสื่อสารให้ผู้ป่วยมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนเข้ารับการตรวจen_US
dc.description.abstractPurpose: This study aimed to compare the effects of instructive information with and without the use of pictures on anxiety of women and their satisfaction. Design: Randomized-controlled trial. Methods: One hundred and sixty-four participants who came to the clinic for receiving the first-time transvaginal or transrectal ultrasonography were randomized into 2 groups. The control group received instructive information, while the comparison group received instructive information together with the pictures of ultrasound probe and manikin. Questionnaires used for data collection included the demographic questionnaire, State Trait Anxiety inventory, and the patient’s wants of viewing the pictures questionnaire. Descriptive statistics, chi-square test, independent t-test, paired t-test were used in data analysis. Main findings: There was no statistically significant difference of mean scores on anxiety and satisfaction between the study groups (p > .05). Conclusion and recommendations: These finding imply instructive information counseling is more important than used of the pictures, so nurse should emphasize to communication with the patient in order to correct misunderstanding and give education before ultrasonographic examination.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับเงินทุนสนับสนุนจากทุนพัฒนาการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทการสนับสนุนทุนวิจัยในโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) IO: R015935029en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 38, ฉบับที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2563), 88-98en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60626
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความวิตกกังวลen_US
dc.subjectการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนen_US
dc.subjectการตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดen_US
dc.subjectการตรวจอัลตราซาวนด์ทางทวารหนักen_US
dc.subjectanxietyen_US
dc.subjectinstructive informationen_US
dc.subjecttransrectal ultrasonographyen_US
dc.subjecttransvaginal ultrasonographyen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleผลของการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้ดูหรือไม่ให้ดูภาพประกอบต่อความวิตกกังวลของผู้หญิงที่มารับการตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักเป็นครั้งแรกen_US
dc.title.alternativeEffect of Instructive Information with and without the Use of Pictures on Anxiety of Women Receiving First-time Transvaginal/Tansrectal Ultrasonographyen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/226074en_US

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
si-ar-aungkana-2563.pdf
Size:
451.92 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections