Publication:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมีบุตรของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรส จังหวัดนครศรีธรรมราช

dc.contributor.authorจุฬาวรรณ สุขอนันต์en_US
dc.contributor.authorโชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์en_US
dc.contributor.authorสุธรรม นันทมงคลชัยen_US
dc.contributor.authorศุภชัย ปิติกุลตังen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัวen_US
dc.date.accessioned2022-07-14T15:17:29Z
dc.date.available2022-07-14T15:17:29Z
dc.date.created2565-07-14
dc.date.issued2563
dc.description.abstractการเกิดและอัตราการเจริญพันธุ์ของไทยมีแนวโน้มลดลง การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตัดสินใจมีบุตร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมีบุตรของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรส อายุ 20-34 ปี จำนวน 282 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างวันที่ 3 มกราคม ถึง วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการศึกษา พบว่า สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสตัดสินใจมีบุตร ร้อยละ 78.7 และตัดสินใจไม่มีบุตร ร้อยละ 21.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมีบุตรของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ทัศนคติต่อการมีบุตร การเข้าถึงบริการศูนย์เด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็ก และระดับการศึกษา งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะ ให้หน่วยงานบริการด้านสาธารณสุขในจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างทัศนคติต่อการมีบุตรทางบวกในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรส โดยเฉพาะกลุ่มที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า และส่งเสริมการเข้าถึงบริการศูนย์เด็กเล็ก/สถานรับเลี้ยงเด็กที่สะดวกและมีคุณภาพen_US
dc.description.abstractBirth and fertility rates in Thailand tend to decrease. This cross-sectional survey research aimed to study the childbearing decision making and factors influencing childbearing decision making among married women of reproductive age in Nakhon Si Thammarat province. The sample population consisted of 282 married women of reproductive age, aged 20-34 years, selected by multi-stage random sampling. The data were collected by self-administered questionnaires from January 3rd to February 3rd 2019 and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple logistic regression analysis. The study showed that the proportion of married women who decided to have children was 78.7%, and those who decided to have childless was 21.3%. Factors influencing childbearing decision making among married women of reproductive age with a statistical significance (p<0.05) were attitude towards having children, accessibility to childcare/ nursery service, and education level of women. Thus, public health service organization in Nakhon Si Thammarat Province should organize a campaign to promote the married women to have a positive attitude towards childbearing, especially those with a bachelor's degree or higher and provide the accessibility to standard childcare/nursery service.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 43, ฉบับที่ 2 (ก.ค.- ธ.ค. 2563), 66-77en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72140
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectปัจจัยen_US
dc.subjectการตัดสินใจมีบุตรen_US
dc.subjectสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมีบุตรของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรส จังหวัดนครศรีธรรมราชen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Childbearing Decision Making among Married Women of Reproductive Age in Nakhon Si Thammarat Provinceen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he01.tci-thaijo.org/index.php/muhed/article/view/207997

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-chokchai-2563.pdf
Size:
412.19 KB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections