Publication: ปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดปทุมธานี
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 34, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2554), 3-9
Suggested Citation
ธนวิศิษฎ์ มหพฤทธิ์ไพศาล, เพียงพล เจริญพันธ์, รณชัย คงสกนธ์, นิฤมน รัตนะรัต, Dhanavisit Mahaphruetphaisan, Piangpol Charoenpunt, Ronnachai Kongsakon, Nirumon Rattanarat ปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดปทุมธานี. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 34, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2554), 3-9. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79808
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดปทุมธานี
Alternative Title(s)
Domestic Violence in the Industrial Zone in Pathum Thani
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจขนาดของปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวในโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย (Descriptive research) โดยประชากรที่ใช้ศึกษาวิจัยคือ กลุ่มบุคคลหรือครอบครัวผู้ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมภายในเขตพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี ครอบคลุมใน 7 อำเภอ ทั้งหมด 7 โรงงาน รวมประชากรทั้งหมด 7,301 คน ซึ่งนำมาคำนวณกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีของ Yamane ได้จำนวนเป้าหมาย 600 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างนั้นผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยแบ่งตามสัดส่วนของจำนวนประชากรของในแต่ละโรงงาน จนครบจำนวนเป้าหมายหลักของประชากร
ผลการศึกษา: พบว่าครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างมีการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัวร้อยละ 4.05 โดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถูกกระทำและผู้กระทำความรุนแรงนั้น พบว่าส่วนมากเป็นสามีภรรยากัน และประเภทของความรุนแรงต่อร่างกายถึงร้อยละ 53.9 โดยรูปแบบของการใช้ความรุนแรงด้านร่างกายที่พบมากที่สุด ได้แก่ การตบตี เตะ ต่อย รองลงมาคือการใช้อาวุธเพื่อทำร้ายร่างกาย และการกักขังหน่วงเหนียวตามลำดับ ส่วนการใช้ความรุนแรงต่อจิตใจมีมากถึงร้อยละ 40.4 โดยรูปแบบของการใช้ความรุนแรงด้านจิตใจพบมากที่สุด ได้แก่ การดุด่า รองลงมาคือการข่มขู่ และการบังคับขืนใจตามลำดับ จากจำนวนผู้ถูกกระทำความรุนแรงในร่างกายพบว่าผู้ถูกกระทำได้รับบาดเจ็บทางกายมากถึงร้อยละ 55 ซึ่งหมายความว่าผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายต่อร่างกายเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถูกกระทำความรุนแรง และพบว่าผู้ถูกกระทำความรุนแรงได้กระทำต่อเหยื่อได้ดื่มสุราก่อนกระทำความรุนแรงมากถึงร้อยละ 66.7 ของจำนวนความรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่วนวิธีแก้ไขปัญหาประชากรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 95 เห็นด้วยกับวิธีการแก้ไขปัญหาตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 กำหนดไว้
สรุปผลการศึกษา: การกระทำความรุนแรงภายในครอบครัวของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมมีทั้งการกระทำต่อร่างกาย คือ การตบ ตี หรือมีการใช้อาวุธ และด้านจิตใจ เช่น การดุ ด่า และการข่มขู่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถูกกดดันจากสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวและการดื่มสุรา ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหายังมีการแก้ไขปัญหากันเองภายในครอบครัวอยู่ ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงจึงไม่ปรากฏมากนัก อีกทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงภายในครอบครัว พ.ศ. 2550 ถึงแม้จะมีหลักการที่ดีและมุ่งคุ้มครองเหยื่อและต้องการให้ครอบครัวเกิดความปรองดอง แต่บุคคลดังกล่าวยังขาดความเข้าใจในทางปฏิบัติเพื่อจะเข้าถึงเจ้าหน้าที่หรือกลไกภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าว
Objectives: To explore the size of the problem of domestic violence in the industrial zone in Pathum Thani. Methods: Descriptive research is to explore the size of the problem of domestic violence. Study in the population of 7,301 people in industrial plants when they bring a sample is calculated using a sample population Yamane need to study only 600 people using a random coincidence. Proportion of population within the plant. Results: The domestic violence as a whole with 43.5% share by type of action. 1. The use of physical violence against 53.9% 2. The use of psychological violence against 40.4% found by those who do violence. To victims by drinking alcohol before the act of 66.7% and problem-solving per cent of the population sample, 95% agree with the solution by Domestic Violence Protection Act of 2,550 within the family. Conclusion: Acts of violence in the family in industrial action on both body and mind. The reason most from being pressured by economic conditions. It is also considered within the family can resolve its own. To be protected under the principle that good, but people still lack understanding of enforcement. Is essential to provide the distribution to be widely known within the family to industrial.
Objectives: To explore the size of the problem of domestic violence in the industrial zone in Pathum Thani. Methods: Descriptive research is to explore the size of the problem of domestic violence. Study in the population of 7,301 people in industrial plants when they bring a sample is calculated using a sample population Yamane need to study only 600 people using a random coincidence. Proportion of population within the plant. Results: The domestic violence as a whole with 43.5% share by type of action. 1. The use of physical violence against 53.9% 2. The use of psychological violence against 40.4% found by those who do violence. To victims by drinking alcohol before the act of 66.7% and problem-solving per cent of the population sample, 95% agree with the solution by Domestic Violence Protection Act of 2,550 within the family. Conclusion: Acts of violence in the family in industrial action on both body and mind. The reason most from being pressured by economic conditions. It is also considered within the family can resolve its own. To be protected under the principle that good, but people still lack understanding of enforcement. Is essential to provide the distribution to be widely known within the family to industrial.