Publication: Factors associated with oropharyngeal carrier of haemophilus influenzae and antimicrobial resistance in healthy children attending day-care center of a health promotion hospital
Issued Date
2010
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
355292 bytes
Rights
Mahidol University
Bibliographic Citation
Journal of Public Health. Vol.40, No.3 (2010), 281-290
Suggested Citation
Munsawaengsub, C, Chokchai Munsawaengsub, Pitikultang, S, Supachai Pitikultang, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, ศุภชัย ปิติกุลตัง Factors associated with oropharyngeal carrier of haemophilus influenzae and antimicrobial resistance in healthy children attending day-care center of a health promotion hospital. Journal of Public Health. Vol.40, No.3 (2010), 281-290. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2316
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Factors associated with oropharyngeal carrier of haemophilus influenzae and antimicrobial resistance in healthy children attending day-care center of a health promotion hospital
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นพาหะของเชื้อ Haemophilus influenzae และการดื้อยาต้านจุลชีพในเด็กสุขภาพดีของศูนย์เด็กเล็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพแห่งหนึ่ง
Abstract
A cross sectional study was performed in the children attending a day-care center of Health Promotion
Hospital to evaluate the carriage rate and factors associated with the Haemophilus influenzae oropharyngeal
colonization and antimicrobial susceptibility of H. influenza. The samples were 189 children, 95 boys and 94
girls. The data were collected by self-administered questionnaire, the secondary data by reviewing the history
folder recorded by the day care, physical examination and oropharyngeal swab during July–November 2007.
Data were analyzed by frequency, percentage, Chi-square test, and Multiple logistic regression. The results
showed that 44.4% of the children were the oropharyngeal carrier of H. influenza and 1.1% of these were
H. influenzae type b. Factors associated with H. influenzae carrier with statistical significance were the children’s
age less than 3 years, history of premature, birth weight less than 2,500 grams, the present of more than
2 children aged less than 10 years at home, family members of more than 5 persons, maternal occupation of
employee or government officer, extended family, and the children not received H. influenzae type b (Hib)
vaccine. The factors influencing the oropharyngeal carrier of H. influenzae were history of preterm labor, and
the number of over 2 children aged below 10 years living in the house. For antimicrobial susceptibility test
results 68.5% of H. influenzae were resistant to cotrimoxazole, 31.5% to ampicillin, and 1.1% to cefotaxime.
Therefore, the family and child care organizations should have the plan to prevent the spreading of disease and
reduce the chances of H. influenzae carrier in children since pregnancy by preventing preterm labor, low birth
weight and health care in the family with several members particularly in the family which have the children
aged below 10 years, as well as giving the vaccine to reduce the risks of carrier, transmission prevention, and
the usage of appropriate antibiotics.
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางในเด็กที่มารับบริการที่ศูนย์เด็กเล็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ แห่งหนึ่ง เพื่อประเมินภาวะการเป็นพาหะและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นพาหะของ Haemophilus influenzae ในลำคอ รวมทั้งหาการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ Haemophilus influenzae กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 1? - 5 ปี จำนวน 189 คน เป็นชาย 95 คน หญิง 94 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้ปกครองชนิดตอบด้วยตนเอง ข้อมูลทุติยภูมิจากแฟ้ม ประวัติของศูนย์เด็กเล็ก การตรวจร่างกายและเก็บสิ่งส่งตรวจจากในลำคอ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550 ถึง พฤศจิกายน 2550 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ Chi-square test และ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 44.4 ของเด็กเป็นพาหะของ H. influenzae และในจำนวนนี้ พบว่าเป็นพาหะของ H. influenzae type b (Hib) ร้อยละ 1.1 ปัจจัยที่ สัมพันธ์กับการเป็นพาหะของเชื้อ H. influenzae อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ เด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี ประวัติการคลอด ก่อนกำหนด นํ้าหนักแรกเกิดที่ตํ่ากว่า 2,500 กรัม การมีเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปีมากกว่า 2 คนในบ้าน การมีสมาชิกในบ้าน มากกว่า 5 คน มารดามีอาชีพรับราชการหรือรับจ้าง เด็กอยู่ในครอบครัวขยาย และการไม่ได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ Hib ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นพาหะของเชื้อ H. influenzae ได้แก่ ประวัติการคลอดก่อนกำหนด และ การมีเด็กอายุน้อย กว่า 10 ปี มากกว่า 2 คนในบ้าน จากการศึกษาความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพพบว่า H. influenzae ร้อยละ 68.5 ดื้อต่อยา cotrimoxazole ร้อยละ 31.5 ดื้อต่อยา ampicillin และร้อยละ 1.1 ดื้อต่อยา cefotaxime ดังนั้นครอบครัวและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กควรมีการวางแผนการป้องกันการแพร่เชื้อและลดโอกาสการเป็นพาหะของเชื้อ H. influenzae ตั้งแต่การตั้งครรภ์ โดยการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดนํ้าหนักน้อย การดูแลสุขอนามัยในครอบครัวที่มี จำนวนสมาชิกหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปีในบ้าน ตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคที่เหมาะกับความเสี่ยงของแต่ละครอบครัว เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อ รวมถึงการใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางในเด็กที่มารับบริการที่ศูนย์เด็กเล็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ แห่งหนึ่ง เพื่อประเมินภาวะการเป็นพาหะและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นพาหะของ Haemophilus influenzae ในลำคอ รวมทั้งหาการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ Haemophilus influenzae กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 1? - 5 ปี จำนวน 189 คน เป็นชาย 95 คน หญิง 94 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้ปกครองชนิดตอบด้วยตนเอง ข้อมูลทุติยภูมิจากแฟ้ม ประวัติของศูนย์เด็กเล็ก การตรวจร่างกายและเก็บสิ่งส่งตรวจจากในลำคอ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550 ถึง พฤศจิกายน 2550 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ Chi-square test และ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 44.4 ของเด็กเป็นพาหะของ H. influenzae และในจำนวนนี้ พบว่าเป็นพาหะของ H. influenzae type b (Hib) ร้อยละ 1.1 ปัจจัยที่ สัมพันธ์กับการเป็นพาหะของเชื้อ H. influenzae อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ เด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี ประวัติการคลอด ก่อนกำหนด นํ้าหนักแรกเกิดที่ตํ่ากว่า 2,500 กรัม การมีเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปีมากกว่า 2 คนในบ้าน การมีสมาชิกในบ้าน มากกว่า 5 คน มารดามีอาชีพรับราชการหรือรับจ้าง เด็กอยู่ในครอบครัวขยาย และการไม่ได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ Hib ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นพาหะของเชื้อ H. influenzae ได้แก่ ประวัติการคลอดก่อนกำหนด และ การมีเด็กอายุน้อย กว่า 10 ปี มากกว่า 2 คนในบ้าน จากการศึกษาความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพพบว่า H. influenzae ร้อยละ 68.5 ดื้อต่อยา cotrimoxazole ร้อยละ 31.5 ดื้อต่อยา ampicillin และร้อยละ 1.1 ดื้อต่อยา cefotaxime ดังนั้นครอบครัวและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กควรมีการวางแผนการป้องกันการแพร่เชื้อและลดโอกาสการเป็นพาหะของเชื้อ H. influenzae ตั้งแต่การตั้งครรภ์ โดยการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดนํ้าหนักน้อย การดูแลสุขอนามัยในครอบครัวที่มี จำนวนสมาชิกหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวที่มีเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปีในบ้าน ตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคที่เหมาะกับความเสี่ยงของแต่ละครอบครัว เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อ รวมถึงการใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม