Publication:
การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพการบริการของศูนย์การออกกำลังกายในมหาวิทยาลัยของรัฐบาล

dc.contributor.authorกิตติพงศ์ พูลชอบen_US
dc.contributor.authorพรรณิภา ทีรฆฐิติen_US
dc.contributor.authorKittipong Poonchopen_US
dc.contributor.authorPannipa Teerakathitien_US
dc.contributor.otherMahidol University. College of Sports Science and Technology
dc.date.accessioned2014-08-20T09:05:50Z
dc.date.accessioned2017-03-16T08:06:48Z
dc.date.available2014-08-20T09:05:50Z
dc.date.available2017-03-16T08:06:48Z
dc.date.created2014-08-20
dc.date.issued2013-07
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อจำแนกองค์ประกอบของการรับรู้คุณภาพการบริการของศูนย์การออกกำลังกายในมหาวิทยาลัยรัฐบาลจากมุมมองของสมาชิก และเพื่อพัฒนาแบบวัดการรับรู้คุณภาพการบริการให้มีความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรงและความสามารถในการนำไปใช้งาน งานวิจัยครั้งนี้ใช้วิจัยแบบภาคตัดขวางศึกษาในศูนย์การออกกำลังกายในมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม โดยสุ่มสมาชิกของศูนย์ออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่งอย่างง่ายมาจำนวน 285 รายการศึกษาครั้งนี้นำการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจหมุนแกนด้วยวิธีวาริแม๊กซ์ในการสกัดปัจจัย และใช้การทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีครอนบาค ความเที่ยงตรงกับเกณฑ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย อัตราการตอบกลับเท่ากับร้อยละ 98.59 หรือเท่ากับ 281 ราย การวิเคราะห์ปัจจัยของการรับรู้คุณภาพการบริการ พบว่าสกัดปัจจัยได้ 7 ปัจจัยซึ่งสามารถอธิบายความผันแปรรวม ได้เท่ากับร้อยละ 76.93 ปัจจัยใหม่ที่สกัด ได้คือ ความเป็นรูปธรรมของการบริการ ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การให้ความเชื่อมั่นแก่สมาชิก การรู้จักและเข้าใจสมาชิก การตอบสนองต่อสมาชิก คุณภาพโปรแกรมการออกกำลังกายและผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการเข้ารับบริการ ค่าความเชื่อมั่น (ครอนบาค แอลฟ่า) มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 0 .86 ถึง 0.93 และยังพบว่าเครื่องมือวัดการรับรู้คุณภาพการบริการมีความเที่ยงตรงกับเกณฑ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ปัจจัยที่สมาชิกศูนย์การออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยชี้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การให้ความเชื่อมั่นแก่สมาชิกและ คุณภาพโปรแกรมการออกกำลังกาย ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงแบบสอบวัดคุณภาพการบริการมีความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรง สามารถนำไปใช้งานจริงสำหรับประเมินคุณภาพการบริการ จากข้อเท็จจริงของการวิจัยครั้งนี้ ผู้จัดการศูนย์การออกกำลังกายสามารถใช้เครื่องมือนี้สาหรับระบุถึงสถานะของระดับคุณภาพ ระบุจุดที่บริการที่ยังเป็นจุดอ่อนและต้องการการปรับปรุงคุณภาพการบริการ เพื่อดึงดูดสมาชิกใหม่ และเพิ่มความภักดีแก่สมาชิกเก่า ดังนั้นเครื่องมือนี้จะช่วยให้ศูนย์ออกกำลังกายมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าเดิมในสถานการณ์ปัจจุบันen_US
dc.description.abstractThe purpose of the study was to identify the dimensions of perceived service quality in a state university fitness center from point of view of the members and to develop a reliable, valid and applicable measurement instrument. Nakhonpathom province. A cross-sectional survey was conducted in fitness center of a state university. A total of 285 fitness center’s members of this state university were chosen using simple random sampling technique. This study had employed exploratory factor analysis with varimax rotation for factor extraction. Internal consistency, criterion-related validity, and multiple regression analysis were also used. Results: The response rate was 98.59% or 281 members. The seven factors were obtained, explaining 76.93 % of total variance. The newly extracted factors are tangible, reliability, assurance, responsiveness, empathy, program quality, and expected outcomes. The internal consistency or cronbach alpha coefficient values for sub-scales were ranged from 0.86 to 0 .93 and this instrument had criterion-related validity with statistical significance. The most important factors for the university fitness center members were reliability, assurance and program quality. The results of this study show reliability, validity, and applicability of the perceived service quality scale in assessing service quality for a state university fitness center. Based on the findings of this research, fitness center manager can use this instrument for identifying current levels of service quality, determining service areas that weak and in need for improving their service quality, attracting more new members and increasing the loyalty of their existing members. Moreover, this instrument will help a fitness center to better performance in current situation.
dc.identifier.citationวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. ปีที่ 13, ฉบับที่ 1, (ก.ค. 2556), 89-112en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1417
dc.language.isoengen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาแห่งประเทศไทย (สวกท)en_US
dc.subjectคุณภาพการบริการen_US
dc.subjectศูนย์การออกกำลังกายen_US
dc.subjectการวิเคราะห์ปัจจัยen_US
dc.subjectการพัฒนาเครื่องมือen_US
dc.subjectFitness centeren_US
dc.subjectService qualityen_US
dc.subjectFactor analysisen_US
dc.subjectScale developmenten_US
dc.subjectOpen Access article
dc.subjectวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
dc.subjectJournal of Sports Science and Technology
dc.titleการพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพการบริการของศูนย์การออกกำลังกายในมหาวิทยาลัยของรัฐบาลen_US
dc.title.alternativeThe Development of the perceived service quality scale: a state university sports centeren_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttp://thailand.digitaljournals.org/index.php

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ss-ar-kittipon-2556.pdf
Size:
316.99 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections