Publication: ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยของแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.contributor.author | โยธิน คำแสง | en_US |
dc.contributor.author | วารี อัศวเสนา | en_US |
dc.contributor.author | สุภนีวรรณ เชาว์วิศิษฐ | en_US |
dc.contributor.author | พิมพิลา ขาวขำ | en_US |
dc.contributor.author | สุภาภรณ์ โต๊ะสำลี | en_US |
dc.contributor.author | อรทัย เกียรติจิรดา | en_US |
dc.contributor.author | ดรุณี สุขวัฒนาชัยกูล | en_US |
dc.contributor.author | พิมใจ ศิริวงศ์ไพรัช | en_US |
dc.contributor.author | Yothin Kumsang | en_US |
dc.contributor.author | Waree Atsawasena | en_US |
dc.contributor.author | Suphaneewan Jaovisidha | en_US |
dc.contributor.author | Pimpila Khowkham | en_US |
dc.contributor.author | Supaporn Tohsumlee | en_US |
dc.contributor.author | Orathai Keatjidaro | en_US |
dc.contributor.author | Darunee Sukwathanachaikul | en_US |
dc.contributor.author | Pimjai Siriwongpirat | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชารังสีวิทยา | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-09-30T05:51:43Z | |
dc.date.available | 2022-09-30T05:51:43Z | |
dc.date.created | 2565-09-30 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อให้ทราบถึงทัศนคติต่อการทำวิจัย รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยของแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการวิจัย: แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ภาควิชารังสีวิทยา ปีการศึกษา 2553 จำนวน 38 คน ตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม การศึกษาทัศนคติต่อการทำวิจัยและศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการทำวิจัยซึ่งอยู่ในหลักสูตรการฝึกอบรม โดยแบ่งการตอบคำถามเป็นระดับ 1 – 4 และ 1 – 5 ตามลำดับ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย รวมทั้งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA 11 ผลการวิจัย: ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.31) มีอายุอยู่ในช่วง 25 – 30 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 71.05 จากคำถามในด้านทัศนคติ 12 ข้อ ข้อที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 4 ลำดับคือ เห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นบุคคลที่น่าทำงานด้วย (ค่าเฉลี่ย 3.39 จากคะแนนเต็ม 4), อาจารย์ที่ปรึกษามีความเอาใจใส่ทำให้สามารถทำงานวิจัยได้ง่าย (3.34), เห็นว่างานวิจัยที่ทำมีประโยชน์ต่อภาควิชาฯ (3.05) และต่อตนเอง (3.00) และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษา (ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 1.71) ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคในการทำงานวิจัยนั้น ข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 6 ลำดับคือ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า ภาควิชาควรจัดสรรช่วงเวลาเฉพาะสำหรับกรทำวิจัย (ค่าเฉลี่ย 4.39 จากคะแนนเต็ม 5), ภาระงานประจำที่ต้องรับผิดชอบมีผลมากต่อการทำวิจัย (4.28), ผู้ตอบแบบสอบถามยังขาดความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้สถิติที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (3.92), เห็นด้วยที่กำหนดให้นำเสนอ proposal ตั้งแต่ฝึกอบรมในชั้นปีที่ 2 (3.92), มีความยากลำบากในการตามแฟ้มประวัติคนไข้ (3.81) และในการนัดพบกับนักสถิติของคณะฯ (3.78) ข้อสรุป: แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ภาควิชารังสีวิทยา มีทัศนคติที่ดีมากต่ออาจารย์ที่ปรึกษา และไม่ประสงค์จะเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษาระหว่างการทำวิจัย พบว่าปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการทำวิจัยคือ ภาระงานประจำที่มาก ทำให้เวลาในการทำวิจัยมีไม่เพียงพอ จึงเห็นควรให้ภาควิชาฯ จัดสรรช่วงเวลาเฉพาะในการทำวิจัยให้ | en_US |
dc.description.abstract | Objective: To study the factors affecting residents and fellows' research conduct in Department of Diagnostic and Therapeutic Radiology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. Material and Method: A total of 38 residents and fellows of the 2553 academic year were recruited (Subjects); to answer the questionnaires regarding personal information, the attitudes on research, and the obstacles to conduct research in the Department. The data was analyzed as frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation using STATA 11. Results: Majority of subjects (76.31%) were in age range of 25 – 30 years, with female : male ratio 71.05% : 28.95%. From 12 questions regarding the attitudes on research, the 4 questions received highest scores were: the advisor was kind and nice to work with (mean 3.39 from 4), the advisor provided time and made the research easier (3.34), the conducted research was useful for the Department (3.05) and for the subjects themselves (3.00). The question whether the subjects wanted to change their advisors received the lowest score (1.17). From 19 questions concerning problems and obstacles to conduct research, the 6 question received highest scores were: the Department should provide specific time period for doing research (mean 4.39 from 5), plenty of clinical service affected the research conduct (4.28), subjects were lack of knowledge about necessary biomedical statistics (3.92), subjects agreed to present research proposal in the second year of residency training (3.92), subjects had difficulty in finding the patients’ files (3.81), and difficulty in appointing the biomedical statistician (3.78). Conclusion: Residents and fellows had excellent attitude to their advisors, and did not want to change. The obstacles in conducting research related to plenty of clinical service that resulted in insufficient research time. The Department should consider arranging specific research time period for residents and fellows. | en_US |
dc.identifier.citation | รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 35, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2555), 48-53 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-3611 (Print) | |
dc.identifier.issn | 2651-0561 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79754 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | แพทย์ประจำบ้าน | en_US |
dc.subject | อาจารย์ที่ปรึกษา | en_US |
dc.subject | ปัจจัย | en_US |
dc.subject | การทำวิจัย | en_US |
dc.subject | รังสีวิทยา | en_US |
dc.subject | Residents | en_US |
dc.subject | Fellows | en_US |
dc.subject | Radiology | en_US |
dc.subject | Research | en_US |
dc.subject | Attitude | en_US |
dc.subject | Obstacle | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยของแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.title.alternative | The Factors Affecting Residents and fellows' Research Conduct in Department of Diagnostic and Therapeutic Radiology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University | en_US |
dc.type | Original Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/117823/90389 |