Publication:
ผลของโปรแกรมการออกกําลังกายต่ออาการชา และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ได้รับยาเคมีบําบัด

dc.contributor.authorเพลินพิศ ธรรมนิภาen_US
dc.contributor.authorPloenpit Thamnipaen_US
dc.contributor.authorนันทนา ธนาโนวรรณen_US
dc.contributor.authorNanthana Thananowanen_US
dc.contributor.authorรพีพรรณ อุปการen_US
dc.contributor.authorRapepan Uppaganen_US
dc.contributor.authorบุญเลิศ วิริยะภาคen_US
dc.contributor.authorBoonlert Viriyapaken_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลen_US
dc.date.accessioned2019-06-28T07:18:24Z
dc.date.available2019-06-28T07:18:24Z
dc.date.created2562-06-28
dc.date.issued2561
dc.description.abstractวัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกําลังกายต่ออาการชาและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ได้รับยาเคมีบําบัดรูปแบบการวิจัย: วิจัยแบบกึ่งทดลองวิธีดําเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งรังไข่จํานวน 86 คนที่ได้รับยาเคมีบําบัดในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 43 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกําลังกายประกอบด้วย การทบทวนความรู้การบริหารมือและขาเป็นรายบุคคลพร้อมแผ่นซีดีให้นําไปฝึกปฏิบัติต่อเนื่องที่บ้าน การให้ความรู้เกี่ยวกับอาการชาและคู่มือการดูแลตนเอง และการใช้อุปกรณ์กระตุ้นประสาทสัมผัสบริเวณมือและเท้า เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการชาและแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็ง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบค่าที สถิติไคสแคว์ และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย:ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการชา (F = .52, p = .473)และคุณภาพชีวิต (F = .93, p = .385) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ ในกลุ่มทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการชาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 1 (mean difference = 4.64, p = .002) และค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการชาก่อนและหลังได้รับโปรแกรมครั้งที่ 2 (mean difference = 6.28, p < .001) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติสรุปและข้อเสนอแนะ:ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ในกลุ่มทดลองมีอาการชาไม่เพิ่มขึ้นในการประเมินทั้งสองครั้ง การวิจัยในอนาคตจึงควรประเมินอาการชาทุก 3 สัปดาห์เพื่อทราบรูปแบบของผลกระทบดังกล่าว ผลการวิจัยครั้งนี้ช่วยให้พยาบาลเข้าใจปัญหาและพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ป้องกันอาการชาในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบําบัดต่อไปen_US
dc.description.abstractPurpose: To examine the effects of exercise program on peripheral neuropathy and the quality of life in patients with ovarian cancer receiving chemotherapy. Design: A quasi-experimental design. Method: Participants were 86 patients with ovarian cancer receiving chemotherapy at a university hospital. They were divided into a control group and a treatment group, with 43 samples for each group. Both group received standardized care while the treatment group also received the exercise program, including personal reviewing about hands and legs exercise with VDO for practicing at home, knowledge about peripheral neuropathy and self-care manual, and the toolkit for stimulating hands and legs sensation. The data were collected by using a demographic questionnaire, FACT/GOG-NTX and FACT-G before the program implementation (T0) and after receiving the program (T1 and T2). Data analyses included descriptive statistics, independent t-tests, chi-square tests, and repeated measures ANOVA. Main findings: There was no statistically significant difference of the mean scores on peripheral neuropathy (F = .52, p = .473) and the quality of life (F = .93, p = .477) between the study groups. However, for the intervention group, the time effects on peripheral neuropathy at T0 and T1 (mean difference = 4.64, p = .002) and at T0 and T2 (mean difference = 6.28, p < .001) were statistically significant. Conclusion and recommendations: These findings imply that those patients in the intervention group had a stable degree of peripheral neuropathy at each two time points. Further research is needed to measure peripheral neuropathy at different times, i.e. every 3 weeks to help clarify the impairment pattern. Results enhanced nurses to understand and develop interventions to prevent peripheral neuropathy among patients receiving chemotherapy.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนจากโครงการพัฒนางานประจําสู่งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดen_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 36, ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2561), 42-53en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44198
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectยาเคมีบําบัดen_US
dc.subjectโปรแกรมการออกกําลังกายen_US
dc.subjectมะเร็งรังไข่en_US
dc.subjectอาการชาen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectchemotherapyen_US
dc.subjectexercise programen_US
dc.subjectovarian canceren_US
dc.subjectperipheral neuropathyen_US
dc.subjectquality of lifeen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการออกกําลังกายต่ออาการชา และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ได้รับยาเคมีบําบัดen_US
dc.title.alternativeEffects of Exercise Program on Peripheral Neuropathy and the Quality of Life in Patients with Ovarian Cancer Receiving Chemotherapyen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/146573/108067

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-nanthana-2561.pdf
Size:
241.33 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections