Publication: กระบวนการแช่แข็งกับเซลล์สืบพันธุ์
Issued Date
2554
Resource Type
Language
tha
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 34, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2554), 81-83
Suggested Citation
ชุติมา โตพิพัฒน์, Chutima Topipat กระบวนการแช่แข็งกับเซลล์สืบพันธุ์. รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 34, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2554), 81-83. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79816
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
กระบวนการแช่แข็งกับเซลล์สืบพันธุ์
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
ในทศวรรษปัจจุบันกระบวนการแช่แข็ง (Cryopreservation) ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของเวชศาสตร์การเจริญพันธ์ (Reproductive medicine) เพื่อใช้ในการดูแลและเก็บรักษาเซลล์ เนื้อเยื้อ หรือวัยวะต่างๆทั้งในพืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ ความรู้วิทยาศาสตร์สาขานี้เริ้มต้นปลายทศวรรษ 1940 นักวิทยาศาสตร์มีความพยายามที่จะทำการแช่แข็งเซลล์อสุจิเป็นอันดับแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนกระทั่งภายหลังจากมีการค้นพบสารประกอบที่ใช้ป้องกันการบาดเจ็บเสียหายอันเกิดจากกระบวนการแช่แข็ง (Cryoprotective agent) ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่ทำให้การแช่แข็งประสบความสำเร็จมากขึ้น(1) ตั้งแต่นั้นมา จึงมีการพยายามที่จะทำการศึกษาวิจัยเพื่อนำกระบวนการแช่แข็งมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ กสิกรรม และอุตสาหกรรมในด้านอื่นๆ
ปัจจุบันทางการแพทย์ได้มีการนำวิทยาศาสตร์สาขานี้มาประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยในการดำรงความสามารถในการสืบพันธ์ของมนุษย์ มีรายงานถึงความสำเร็จของการแช่แข็งอสุจิมนุษย์ที่นานที่สุดถึง 21 ปี ดังจะเห็นได้จากประโยชน์ของการแช่แข็งอสุจิมาใช้ได้หลายประการ เช่น ใช้ตั้งธนาคารอสุจิเพื่อที่เก็บรักษาอสุจิบริจาค หรือกรณีที่สามีไม่สามารถมาเก็บน้ำเชื้อสดได้ในวันที่ภรรยามีการตกไข่ รวมถึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ชายที่วางแผนที่จะมีบุตรในอนาคต ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโรคบางอย่างซึ่งอาจส่งผลต่อการสร้างอสุจิของอัณฑะ เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี และการได้รับยาเคมีบำบัด เป็นต้น