Publication: การศึกษารูปแบบกลุ่มผลงานวิจัยของงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 89-102
Suggested Citation
มาลินี รุ่งสว่าง, กัลยพัชร ภู่สาระ, ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์, Malinee Rungsawang, Kanyapat Pusara, Pratak Oprasertsawat การศึกษารูปแบบกลุ่มผลงานวิจัยของงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 89-102. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/54090
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การศึกษารูปแบบกลุ่มผลงานวิจัยของงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ
Alternative Title(s)
Study Design of International Research Publications of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
Other Contributor(s)
Abstract
ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติถือว่าเป็นตัวชีวัดสำคัญอันหนึ่ง ที่ใช้ในการอ้างอิงถึงความเป็นเลิศทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยจะถือเป็นการดีถ้าผลงานวิจัยนั้นก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงสุขภาพของประชาชนในวงกว้างจากองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากผลงานวิจัย แต่อย่างไรก็ตาม การได้ผลงานวิจัยนั้นเกิดจากอาจารย์ภายในคณะฯ ที่จะต้องดำเนินผลงานวิจัยให้เป็นไปตามเป้าหมายของคณะฯ ที่ได้ตั้งไว้ ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการประเมินผลงานวิจัยของคณะฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจากฐานข้อมูล Scopus โดยทำการศึกษาย้อนหลัง 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2555 – 2557 พบว่าคณะฯ มีอาจารย์ประมาณ 642 – 707 คน มีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติประมาณ 248 – 271 เรื่องต่อปี และคิดเป็นจำนวนผลงานวิจัยต่ออาจารย์ประมาณ 0.37 – 0.40 เรื่องต่อคนต่อปี ซึ่งยังน้อยกว่าเป้าหมายที่คณะฯ ตั้งไว้ที่ 0.50 เรื่องต่อคนต่อปี และเมื่อพิจารณาถึงจำนวนอาจารย์ของคณะฯ ที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ พบว่ามีเพียงร้อยละ 25 ของอาจารย์ทั้งหมดของคณะฯ เท่านั้น ในส่วนของรูปแบบงานวิจัยพบว่าร้อยละของผลงานวิจัยเป็นดังนี้ เป็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและเชื่อมโยงทางคลินิก ร้อยละ 17.26 เป็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและระบาดวิทยาคลินิก ร้อยละ 34.40 และเป็นงานวิจัยด้านการดูแลรักษาทางคลินิก ร้อยละ 48.34 ตามลำดับ และเมื่อทำการจัดกลุ่มผลงานวิจัยตามลักษณะผู้ป่วย สาเหตุของโรค และระบบอวัยวะที่เกิดโรคพบว่าเป็นการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยผู้ใหญ่เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.58 โดยมีสาเหตุของโรคเป็นการติดเชื้อ ร้อยละ 15.86 เป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง ร้อยละ 14.32 และเป็นโรคที่เกิดขึ้นภายหลังที่ไม่ใช่การติดเชื้อ เนื้องอกหรือมะเร็งและการบาดเจ็บ ร้อยละ 63.43 และระบบอวัยวะที่เกิดโรคที่พบได้แก่ โรคที่เกิดกับหลายอวัยวะพร้อมกันร้อยละ 24.81 ทางเดินปัสสาวะหรือการสืบพันธุ์ ร้อยละ 12.02 โรคเลือดธาลัสสีเมียหรือฮีโมฟิเลีย ร้อยละ 9.46 การหายใจ ร้อยละ 8.18 กระดูกและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 6.1 สมอง ร้อยละ 6.39 ทางเดินอาหาร ร้อยละ 6.14 หัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 5.88 ต่อมไร้ท่อ ร้อยละ 5.50 เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและได้รับการอ้างอิงรวมถึงสามารถนำไปสร้างนโยบายสุขภาพได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยอาจารย์ที่มีศักยภาพสูงในการทำวิจัย และทำงานวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและเชื่อมโยงเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ผลงานวิจัยของคณะฯ จะเป็นด้านการดูแลรักษาทางคลินิกและด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและระบาดวิทยา คลินิกเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งงานวิจัยจะต้องมุ่งประเด็นที่อาจารย์ของคณะฯ มีความชำนาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ได้แก่ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อ เอชไอวีและเอดส์ โรคเลือดธาลัสสีเมียและฮีโมฟิเลีย โรคของระบบต่อมไร้ท่อ และมะเร็งก็จะทำให้คณะฯ สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้
The number of international publications is a key performance indicator to show whether the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital is excellence in research. The knowledge from these publications should also help formulate health advocacy and health policy. To reach this goal, number of international publications should be increased. Thus, the objective of this study is to evaluate the international publications at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital by using SCOPUS database for data collection and analysis. This retrospective study was conducted at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital 2012-2014. There were 642 - 707 faculty staff during that year and 248 - 271 international publications during the study period. The ratio of research done by faculty staff was 0.37 - 0.40 paper per person per year which was less than the target of 0.50 paper per person per year. And also only 25% of the faculty staff had international publications. Comparing research design, the researchers found that the percentage of basic science and translation medicine research, health science and clinical epidemiology research and clinical research was 17.26, 34.40 and 48.34 respectively. When grouping the research using patient characteristic, causes of diseases and organ affected, the researchers found that most of the patients were adult (75.58%) with causes of diseases were infection 15.86%, tumor or malignancy 14.32% and others which occurred later not infection tumor or malignancy and trauma 63.43% and most of the organ affected were diseases that affected multiple organs 24.81%, urinary and reproductive system 12.02%, Thalassemia or Hemophilia 9.46%, pulmonary system 8.18%, bone and muscle 6.91%, brain 6.39%, gastrointestinal system 6.14%, cardiovascular system 5.88%, endocrine 5.50%, etc. However, a way to produce quality research with cited references needs qualified faculty staff who are keen in basic science and translational medicine research to increase this research design parallel with health science and clinical epidemiology research and clinical research. In addition, research should be focused on the strength of the faculty staff in the fields of cardiovascular disease, HIV and AIDs, Thalassemia or Hemophilia, endocrine and malignancy. The vision of Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital should be reached accordingly.
The number of international publications is a key performance indicator to show whether the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital is excellence in research. The knowledge from these publications should also help formulate health advocacy and health policy. To reach this goal, number of international publications should be increased. Thus, the objective of this study is to evaluate the international publications at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital by using SCOPUS database for data collection and analysis. This retrospective study was conducted at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital 2012-2014. There were 642 - 707 faculty staff during that year and 248 - 271 international publications during the study period. The ratio of research done by faculty staff was 0.37 - 0.40 paper per person per year which was less than the target of 0.50 paper per person per year. And also only 25% of the faculty staff had international publications. Comparing research design, the researchers found that the percentage of basic science and translation medicine research, health science and clinical epidemiology research and clinical research was 17.26, 34.40 and 48.34 respectively. When grouping the research using patient characteristic, causes of diseases and organ affected, the researchers found that most of the patients were adult (75.58%) with causes of diseases were infection 15.86%, tumor or malignancy 14.32% and others which occurred later not infection tumor or malignancy and trauma 63.43% and most of the organ affected were diseases that affected multiple organs 24.81%, urinary and reproductive system 12.02%, Thalassemia or Hemophilia 9.46%, pulmonary system 8.18%, bone and muscle 6.91%, brain 6.39%, gastrointestinal system 6.14%, cardiovascular system 5.88%, endocrine 5.50%, etc. However, a way to produce quality research with cited references needs qualified faculty staff who are keen in basic science and translational medicine research to increase this research design parallel with health science and clinical epidemiology research and clinical research. In addition, research should be focused on the strength of the faculty staff in the fields of cardiovascular disease, HIV and AIDs, Thalassemia or Hemophilia, endocrine and malignancy. The vision of Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital should be reached accordingly.