Publication: การใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปรายส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยการเขียนเชิงสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณ : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
Issued Date
2564
Resource Type
Language
tha
ISSN
1513-8429
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
กลุ่มสาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์การเกษตรระดับโมเลกุล สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสหศาสตร์. ปีที่ 21, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2564), 82-95
Suggested Citation
วิระวัลย์ ดีเลิศ, จันทรัตน์ ภคมาศ, ปณัฐ อนุรักษ์ปรีดา, Wirawan Deelert, Chantarat Pakamash, Panat Anuracpreeda การใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปรายส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยการเขียนเชิงสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณ : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. วารสารสหศาสตร์. ปีที่ 21, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2564), 82-95. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79945
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปรายส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยการเขียนเชิงสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณ : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
Alternative Title(s)
Use of Film-Based Discussion to Promote Thai Reading Ability, Creative Writing and Critical Thinking: The Case Study of Students in Bangkokthonburi University
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาไทยและการเขียนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลังการเรียนในแต่ละแผนการสอน และเปรียบเทียบความคิดวิจารณญาณของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย ประชากรเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอน วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย จำนวน 3 แผน แผนละ 1 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทย แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และแบบวัดความคิดวิจารณญาณ การทดลองดำเนินการโดยการทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทย การทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี หลังการเรียนในแต่ละแผนการสอน และการวัดความคิดวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีความสามารถในการอ่านภาษาไทย หลังการเรียนโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปถึงร้อยละ 84.25 อยู่ในระดับดี 2. นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ หลังการเรียนโดย การใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปถึงร้อยละ 83.68 อยู่ในระดับดีมาก 3. มีความคิดวิจารณญาณสูงขึ้น หลังการเรียนโดยการใช้ภาพยนตร์ประกอบการอภิปราย
The Purposes of this research were to study Thai Reading and creative Thai writing abilities of student taught by using film-based discussion in each lesson plan and to compare critical thinking of student before and after being taught by using film-based discussion. The target group was 119 students taking the Thai for communication in the two semester of the year 2018 at Bangkokthonburi University. The experimental instruments were 3 lesson plans using film-based discussion. Each lesson plan consisted of 1 weeks and each period took 1 hours. The data collecting instruments were the Thai reading ability test, the creative Thai writing test and the critical thinking test. The research was conducted by testing Thai reading ability and creative Thai writing ability of students taught by using film-based discussion in each lesson plan and testing critical thinking of students before and after being taught by using film-based discussion. The data collected was analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The findings were as follows 1. The Thai reading ability of students taught by using film-based discussion passed the pre-set criterion reaching 84.25 percent at the highest level. 2. The creative Thai ability of students taught by using film-based discussion also passed the pre-set criterion reaching 83.68 percent at the high level. 3. The critical thinking of students taught by using film-based discussion was increased.
The Purposes of this research were to study Thai Reading and creative Thai writing abilities of student taught by using film-based discussion in each lesson plan and to compare critical thinking of student before and after being taught by using film-based discussion. The target group was 119 students taking the Thai for communication in the two semester of the year 2018 at Bangkokthonburi University. The experimental instruments were 3 lesson plans using film-based discussion. Each lesson plan consisted of 1 weeks and each period took 1 hours. The data collecting instruments were the Thai reading ability test, the creative Thai writing test and the critical thinking test. The research was conducted by testing Thai reading ability and creative Thai writing ability of students taught by using film-based discussion in each lesson plan and testing critical thinking of students before and after being taught by using film-based discussion. The data collected was analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The findings were as follows 1. The Thai reading ability of students taught by using film-based discussion passed the pre-set criterion reaching 84.25 percent at the highest level. 2. The creative Thai ability of students taught by using film-based discussion also passed the pre-set criterion reaching 83.68 percent at the high level. 3. The critical thinking of students taught by using film-based discussion was increased.