Publication:
โปรแกรมสุขศึกษาในการสุขาภิบาลอาหารของผู้ขายอาหารริมบาทวิถี ในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

dc.contributor.authorวาสนา จันทร์สว่างen_US
dc.contributor.authorรักษา รามการุณen_US
dc.contributor.authorชุติมา ศิริกุลชยานนท์en_US
dc.contributor.authorเพียงจันทร์ โรจนวิภาตen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาโภชนวิทยาen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติen_US
dc.date.accessioned2022-04-21T16:48:15Z
dc.date.available2022-04-21T16:48:15Z
dc.date.created2565-04-21
dc.date.issued2550
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Exeperimental Research) วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการสุขาภิบาลอาหารของผู้ขายอาหารริมบาทวิถี โดยการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมและให้แรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขายอาหาร ริมบาทวิถี ในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 ตัวอย่าง ระยะเวลาดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือน มกราคม ถึง พฤศจิกายน 2549 เก็บข้อมูลก่อนและหลังโปรแกรมสุขศึกษา โดยใช้แบบ สัมภาษณ์และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติพรรณนา และ Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมสุขศึกษาที่จัดขึ้นทำให้ผู้ขายอาหารริมบาทวิถีมีความรู้ การรับรู้ เพิ่มมากขึ้น และการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารถูกต้องมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.05) ข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารแผงลอยควรจัด กิจกรรมโดยการให้ความรู้และการจัดการความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารอย่างมีส่วนร่วมของผู้ขาย อาหารเพื่อเกิดประสบการณ์ตรงจากผู้ขายอาหารด้วยกัน ควรให้แรงสนับสนุนทางสังคมและการให้ แรงจูงใจโดยการแจกอุปกรณ์ที่ผู้ขายอาหารต้องการ การปรับปรุงสภาวะสุขาภิบาลอาหารแผงลอย ควรจัดการดำเนินการฝึกอบรมแนะนำปรับปรุงหรือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติแก่ ผู้ขายโดยใช้สถานที่ใกล้เคียงหรือสถานที่เดียวกับที่ขายอาหาร ควรมีการติดตามประเมินผล การ ตรวจสอบด้านสุขาภิบาลอาหาร โดยเทศบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องen_US
dc.description.abstractThis study was a quasi-experimental research aiming to assess the effectiveness of a health education program on food sanitation for street food venders by organizing participatory activities and providing social support. The sample was composed of 30 street food venders in Chombueng District, Ratchaburi Province. The research was organized during January to November, 2006. The data were collected before and after the program by using an interviewing schedule and observation form. The data were analyzed by computing descriptive statistics and comparative analysis of paired sample t-test. The results of the study showed that the health education program was effective in increasing significant knowledge, perception and practices in accordance with food sanitation criteria among street food venders (p<0.05). It is recommended that in order to improved food sanitation of street food venders, the participatory training program should be organized to enhance street food venders’ knowledge and knowledge management regarding food sanitation, including providing them with social support and encouragement by giving them the materials necessary for improving sanitation condition of street foods. A training program of learning activities and practice sessions should be organized in the areas nearby or at their food stands. Regular and continuous follow-up and evaluation and food sanitation inspection by the municipality officers or other concerned organizations should be made.en_US
dc.identifier.citationวารสารสุขศึกษา. ปีที่ 30, ฉบับที่ 106 (พ.ค.- ส.ค. 2550), 30-42en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/64567
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโปรแกรมสุขศึกษาen_US
dc.subjectการสุขาภิบาลอาหารen_US
dc.subjectผู้ขายอาหารริมบาทวิถีen_US
dc.subjectJournal of Health Educationen_US
dc.titleโปรแกรมสุขศึกษาในการสุขาภิบาลอาหารของผู้ขายอาหารริมบาทวิถี ในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรีen_US
dc.title.alternativeHealth Education Program on Food Sanitation for Street Food Venders in Chombueng District, Ratchaburi Provinceen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-wasana-2550.pdf
Size:
2.07 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections