Publication:
การศึกษาติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง

dc.contributor.authorอินทิรา รูปสว่างen_US
dc.contributor.authorสุภาพ อารีเอื้อen_US
dc.contributor.authorพรรณวดี พุธวัฒนะen_US
dc.contributor.authorInthira Roopsawangen_US
dc.contributor.authorSuparb Aree-Ueen_US
dc.contributor.authorPanwadee Putwatanaen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2020-02-20T07:26:14Z
dc.date.available2020-02-20T07:26:14Z
dc.date.created2563-02-20
dc.date.issued2552
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบบรรยายโดยการศึกษาไปข้างหน้า เพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพ ของผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังในระยะก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง 6 สัปดาห์ โดยใช้แนวคิดด้านสุขภาพของสมิทเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 69 คน ถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ได้แก่ อายุ 20 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัย โรคปวดหลังส่วนล่างและได้เข้ารับการผ่าตัดครั้งแรกที่หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์สามัญ โรงพยาบาล ระดับตติยภูมิ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดภาวะสุขภาพทั่วไป และแบบวัดภาวะจำกัดความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จากภาวะปวดหลังส่วนล่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการทดสอบด้วยสถิติที ผลการศึกษา พบว่า หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีคะแนนรวมภาวะสุขภาพดีกว่าก่อนผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประมาณ ร้อยละ 20 มีภาวะจำกัดความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันจากภาวะปวดหลังส่วนล่าง ในระดับปานกลางถึงระดับมาก ซึ่งลดลงจากประมาณเกือบร้อยละ 80 ของกลุ่มตัวอย่างที่ประเมิน ภาวะสุขภาพของตนว่ามีข้อจำกัดความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอยู่ในระดับมากใน ระยะก่อนผ่าตัด ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ การประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้เครื่องมือ แบบปรนัยทั้งแบบประเมินภาวะสุขภาพทั่วไปและแบบประเมินภาวะสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงกับ โรคเป็นประโยชน์ในการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง และ พบว่าหลังผ่าตัด 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุส่วนหนึ่งยังมีข้อจำกัดการปฏิบัติกิจกรรม จึงต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมและส่งเสริม ภาวะสุขภาพซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีen_US
dc.description.abstractThe objective of this prospective descriptive research was to compare health status in patients with chronic low back pain before and after spinal surgery at a 6-week follow-up. The conceptual framework of this study was based on Smith’s idea of a health model. This study comprised 69 patients who were 20 years of age and older, and were diagnosed with low pack pain with degenerative spinal diseases, and received spinal surgery as the primary treatment. Data were obtained by interviewing patients admitted to orthopaedic wards at three government tertiary care hospitals in Bangkok, from February to August 2008. The types of data collected in this study were: 1) the Demographic Data Form; 2) the Short-Form Health Survey-Thai version; and 3) the Modified Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaire-Thai version. Statistical analysis was performed using descriptive statistics and paired t-test. Findings of this study revealed that the means score of overall health status were significantly improved postoperatively. Approximately 20% of the sample perceived moderate or severe disability during the 6-week follow-up, while 80% perceived severe disability at the baseline assessment. For implications of this study, subjective evaluation tools, which provide the benefits of general health status and specific health status related to spinal problems may help identify patients who are likely to benefit from surgical treatment. Although postoperative disability seems to be decreased at a 6-week follow-up, the provision of continual care to the adult and older adult patients with chronic low back pain is needed in order to restore the functional ability and improve their health status, which has a major influence on patients’ quality of life.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2552), 344-360en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/52543
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectภาวะสุขภาพen_US
dc.subjectปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังen_US
dc.subjectผ่าตัดกระดูกสันหลังen_US
dc.subjectHealth statusen_US
dc.subjectChronic low back painen_US
dc.subjectSpinal surgeryen_US
dc.titleการศึกษาติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วยที่มีปัญหาปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังen_US
dc.title.alternativeA Follow-Up Study of Health Status in Patients with Chronic Low Back Pain before and after Spinal Surgeryen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-suparb-2552-2.pdf
Size:
469.64 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections