Publication:
ประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับกลวิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

dc.contributor.authorประภาพรรณ สุคนธจิตต์en_US
dc.contributor.authorPrapapan Sukhonthachiten_US
dc.contributor.authorดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศen_US
dc.contributor.authorDoungrut Wattanakitkrilearten_US
dc.contributor.authorคนึงนิจ พงศ์ถาวรกมลen_US
dc.contributor.authorKanaungnit Pongthavornkamolen_US
dc.contributor.authorเจริญ ชูโชติถาวรen_US
dc.contributor.authorCharoen Chuchottawornen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์en_US
dc.contributor.otherจังหวัดนนทบุรี. สถาบันทรวงอกen_US
dc.date.accessioned2018-09-07T09:17:17Z
dc.date.available2018-09-07T09:17:17Z
dc.date.created2561-09-07
dc.date.issued2560
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับ กลวิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ คุณภาพ ชีวิตผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับประสิทธิผลของการ จัดการกับอาการนอนไม่หลับ และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง รูปแบบการวิจัย: ศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 126 ราย เป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ แบบสัมภาษณ์วิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ และแบบประเมินคุณภาพชีวิต (SF-12) เวอร์ชั่น 2 มีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85, .80 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: พบว่าจากการคัดกรองประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างทุกคนมีประสบการณ์อาการนอนไม่หลับอย่างน้อย 1 อาการขึ้นไป กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50 มีอาการนอนไม่หลับระดับเล็กน้อย กลวิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ จัดห้องให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ส่วนกลวิธีการจัดการ กับอาการนอนไม่หลับที่ช่วยให้นอนหลับได้เพียงพอมากที่สุด คือ ออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือเย็น คุณภาพชีวิตโดยรวมและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายพบว่า อยู่ในระดับไม่ดี (X = 45.82, SD = 5.56, X = 38.64, SD = 9.48 ตามลำดับ) ประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ (r = - .195, p < .05) และประสิทธิผลของการจัดการกับอาการนอนไม่หลับมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .151, p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัยครั้งนี้ พยาบาลควรประเมินอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วย และวางแผนให้ ข้อมูลจัดการกับอาการนอนไม่หลับ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังให้ดีขึ้นen_US
dc.description.abstractPurpose: To investigate the insomnia experience, insomnia management strategies and quality of life in persons with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD); to determine the correlations between insomnia experience and quality of life; and to determine the correlations between effective management of insomnia and quality of life. Design: Descriptive correlational research. Method: The purposive sample composed of 126 COPD patients in COPD Clinic of one tertiary hospital in Bangkok, Thailand. Data were collected using an insomnia severity index, an insomnia management strategies questionnaire, and a Short Form Survey (SF 12, Version 2) with Cronbach’s alpha coefficient at .85, .80 and .72 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. Main findings: All patients experienced one or more insomnia symptoms. The result revealed that 50% of participants had mild insomnia experience. The management strategy used by most of the samples was well-ventilated rooms. The most effective insomnia management strategy to promote adequate sleep was exercise in the morning or evening. Overall quality of life and quality of life in terms of physical health was found to be poor (X = 45.82, SD = 5.56, X = 38.64, SD = 9.48, respectively). Insomnia symptom experience was negatively correlated with quality of life (r = - .195, p < .05). Furthermore, insomnia management efficiency was not correlated with quality of life (r = .151, p > .05). Conclusion and recommendations: The findings suggested that nurses should pay attention on assessing insomnia experience and providing information to deal with insomnia to promote the quality of life in patients with COPD.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 35, ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2560), 100-111en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/26144
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.subjectประสบการณ์อาการนอนไม่หลับen_US
dc.subjectกลวิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.titleประสบการณ์การมีอาการนอนไม่หลับกลวิธีการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.title.alternativeInsomnia Experience, Insomnia Management Strategies and Quality of Life in Patients with Chronic Obstructive Pulmonary Diseaseen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/94223

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-doungrut-2560-2.pdf
Size:
211.93 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections