Publication:
ประสิทธิภาพของการดูดน้ำมูกในปากและจมูกโดยใช้เอ็มยู-ทิป ในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจโดยใช้แรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูก

dc.contributor.authorสุมลทิพย์ สนธิเมืองen_US
dc.contributor.authorเสริมศรี สันตติen_US
dc.contributor.authorพิศสมัย อรทัยen_US
dc.contributor.authorทิพวัลย์ ดารามาศen_US
dc.contributor.authorSumoltip Sontimuangen_US
dc.contributor.authorSermsri Santatien_US
dc.contributor.authorPisamai Orathaien_US
dc.contributor.authorTipawan Daramasen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีen_US
dc.date.accessioned2020-01-07T03:35:26Z
dc.date.available2020-01-07T03:35:26Z
dc.date.created2563-01-07
dc.date.issued2554
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการดูดน้ำมูก ในปากและจมูกโดยใช้ เอ็มยู-ทิป กลุ่มตัวอย่างคือ ทารกเกิดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ที่ได้รับการช่วยหายใจโดยใช้แรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูก ในหอผู้ป่วยบำบัดวิกฤต ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จำนวน 30 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีการศึกษาแบบข้ามสลับ (crossover design) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นช่วงควบคุม และช่วงทดลอง ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการดูดน้ำมูกในปากและจมูก 2 วิธี คือ การดูด น้ำมูกโดยการใช้เอ็มยู-ทิป และใช้สายดูดเสมหะแบบเดิม โดยประเมินความแตกต่างของการ ตอบสนองต่อความเจ็บปวดที่แสดงออกทางใบหน้า การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ การ เปลี่ยนแปลงค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอดเลือดแดง ปริมาณน้ำมูก การบวม และการ บาดเจ็บของเยื่อบุจมูก วิเคราะห์ข้อมูลการตอบสนองต่อความเจ็บปวดที่แสดงออกทางใบหน้า การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ และการเปลี่ยนแปลงค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนใน หลอดเลือดแดง ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way repeated measures ANOVA) ส่วนปริมาณน้ำมูก การบวม และการบาดเจ็บของเยื่อบุจมูก วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า การดูดน้ำมูกในปากและจมูกโดยการใช้เอ็มยู-ทิป ในทารกเกิดก่อนกำหนดมีค่าเฉลี่ยการตอบสนองต่อความเจ็บปวดที่แสดงออกทางใบหน้า การ บวม และการบาดเจ็บของเยื่อบุจมูกน้อยกว่าการดูดน้ำมูกโดยการใช้สายดูดเสมหะแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การดูดน้ำมูกทั้ง 2 วิธี ได้ปริมาณน้ำมูกใกล้เคียงกัน ส่วนค่าเฉลี่ยการ เปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ และการเปลี่ยนแปลงค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอด เลือดแดงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้ เอ็มยู–ทิปในการดูดน้ำมูกในปากและจมูกในทารกเกิดก่อนกำหนดว่าสามารถดูดน้ำมูกในปาก และจมูกได้ ปริมาณน้ำมูกไม่แตกต่างจากการใช้สายดูดเสมหะแบบเดิม แต่สามารถลดความเจ็บ ปวด การบวมและการบาดเจ็บของเยื่อบุจมูกได้en_US
dc.description.abstractThe aim of this quasi-experimental research was to investigate the efficacy of the use of the Mahidol University-TIP (MU-TIP) for oropharyngeal and nasopharyngeal suctioning in premature infants. The study sample consisted of 30 premature infants with gestational age less than 37 weeks. They all received continuous positive pressure ventilation at the neonatal intensive care unit, Ramathibodi Hospital, between June and November, 2009. The subjects were selected by purposive sampling. The crossover design was used to compare the efficacy of the use of MU-TIP with the use of traditional suctioning in the study subjects. Differences between the use of MU–Tip and traditional suctioning were observed through facial expressions on pain, changes in heart rate, changes in oxygen saturation, the amount of mucus, swelling and injury of the nasal membranes. Two-way repeated measures analysis of variance was employed to analyze the subjects’ responses to pain through facial expressions, changes in heart rate, and changes in oxygen saturation. Chi-square test was used to analyze the amount of mucus, swelling and injury of the nasal membranes. The findings showed that when using MU-TIP for oropharyngeal and nasopharyngeal suctioning, the premature infants had statistically significant lower mean scores of responses to pain through facial expressions, swelling and injury of nasal membranes than those using traditional suctioning. Also, both suctioning methods resulted in similar amounts of mucus, and there were no significant differences in terms of changes in heart rate and changes in oxygen saturation. Thus, it can be concluded that using the MU-TIP for oropharyngeal and nasopharyngeal suctioning in premature infants results in a similar amount of mucus as compared to traditional suctioning, but it was more effective when it can reduce pain, swelling, and injury of nasal membranes.en_US
dc.identifier.citationรามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 17, ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2554), 203-217en_US
dc.identifier.issn0858-9739 (Print)
dc.identifier.issn2672-9784 (Online)
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48674
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการดูดน้ำมูกen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยมหิดลทิป (เอ็มยู-ทิป)en_US
dc.subjectทารกเกิดก่อนกำหนดen_US
dc.subjectการช่วยหายใจโดยใช้แรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูกen_US
dc.subjectความเจ็บปวดen_US
dc.subjectSuctioningen_US
dc.subjectMahidol University-Tip (MU-TIP)en_US
dc.subjectPremature infantsen_US
dc.subjectNasal Continuous Positive Airway Pressureen_US
dc.subjectPainen_US
dc.titleประสิทธิภาพของการดูดน้ำมูกในปากและจมูกโดยใช้เอ็มยู-ทิป ในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการช่วยหายใจโดยใช้แรงดันบวกอย่างต่อเนื่องทางจมูกen_US
dc.title.alternativeThe Efficacy of Oropharyngeal and Nasopharyngeal Suctioning by Using MU-TIP on Premature Infants Receiving Nasal Continuous Positive Airway Pressure Ventilatory Supporten_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9123/7845

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ra-ar-sumoltip-2554.pdf
Size:
14.92 MB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections