Publication:
ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาครรภ์แรก

dc.contributor.authorอภิรดี กิมพิทักษ์en_US
dc.contributor.authorสุนีย์ ละกำปั่นen_US
dc.contributor.authorวีณา เที่ยงธรรมen_US
dc.contributor.authorSunee Lagampanen_US
dc.contributor.authorWeena Thiangthamen_US
dc.contributor.correspondenceสุนีย์ ละกำปั่นen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุขen_US
dc.date.accessioned2015-08-17T02:10:35Z
dc.date.accessioned2017-06-30T08:41:17Z
dc.date.available2015-08-17T02:10:35Z
dc.date.available2017-06-30T08:41:17Z
dc.date.created2015-08-17
dc.date.issued2554
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน เป็นมารดาครรภ์แรก อายุครรภ์ 36 สัปดาห์และคลอดที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวก ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 3 ครั้งในระยะเวลาวิจัย 14 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การสร้างแรงจูงใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การฝึกทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดให้มีการสนับสนุนจากครอบครัว การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ และการเยี่ยมบ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลกระทำ 3 ครั้ง ในช่วงก่อนทดลอง ระยะหลังคลอดก่อนกลับบ้าน และ 8 สัปดาห์หลังคลอด โดยให้ตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดความเชื่อในความสามารถตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบวัดความคาดหวังในผลลัพธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบวัดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Repeated measures one-way ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธี Bonferroni และสถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ระยะ 8 สัปดาห์หลังคลอดกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อในความสามารถตนเอง และความคาดหวังในผลลัพธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) มีคะแนนเฉลี่ยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่าระยะหลังคลอดก่อนกลับบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 77.1 จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับมารดาครรภ์แรก สามารถประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้มารดาครรภ์แรก เกิดความมั่นใจ เห็นประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสามารถปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ถูกต้องมากขึ้น The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of a breastfeeding self-efficacy intervention in first-time mothers. The sample consisted of thirty-five first-time mothers who were at thirty-six weeks into their pregnancy, and who had their delivery at Damnoensaduak Hospital. The breastfeeding self-efficacy intervention was conducted three times over a period of fourteen weeks. Activities included breastfeeding motivation, breastfeeding skill building, family social support, telephone counseling, and home visits. Data were collected through self-administered questionnaires on three different occasions: before intervention, after delivery but before discharge, and at the eighth week postpartum. The research tools included self-efficacy beliefs in breastfeeding scale, expected breastfeeding outcome scale, and breastfeeding practice scale. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, repeated measures one-way ANOVA, Bonferroni, and paired t-test. The results revealed that after intervention at the 8th week postpartum, the first-time mothers showed significantly higher levels of self-efficacy beliefs in breastfeeding and expected breastfeeding outcomes than before the intervention at p-value < 0.001 and had a breastfeeding practice score higher than before discharge from hospital, at p-value < 0.001. and showed 6 months exclusive breastfeeding rate was 77.1%. The findings suggest that a breastfeeding self-efficacy intervention in first-time mothers can incresase the mother’s confidence, her perception of breastfeeding benefits, and can help them to improve breastfeeding performance.en_US
dc.identifier.citationวารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 41, ฉบับที่ 2 (2554), 135-148en_US
dc.identifier.issn0125-1678
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2515
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectโปรแกรมส่งเสริมความสามารถen_US
dc.subjectความเชื่อในความสามารถตนเองen_US
dc.subjectความคาดหวังในผลลัพธ์en_US
dc.subjectการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่en_US
dc.subjectมารดาครรภ์แรกen_US
dc.subjectSelf-Efficacy Interventionen_US
dc.subjectSelf-Efficacy Beliefsen_US
dc.subjectExpected Outcomeen_US
dc.subjectBreastfeedingen_US
dc.subjectFirst-Time Motheren_US
dc.subjectOpen Access articleen_US
dc.subjectวารสารสาธารณสุขศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Public Healthen_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาครรภ์แรกen_US
dc.title.alternativeThe effects of a breastfeeding self-efficacy intervention in first-time mothersen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttp://www.ph.mahidol.ac.th/phjournal/journal/41_2/04.pdf

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ph-ar-sunee-2554.pdf
Size:
181.09 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections