Publication: Factors influencing the performance of village health posts in Kalasin Province, Thailand
Issued Date
2019
Resource Type
Language
eng
ISSN
1905-1387
Rights
Mahidol University
Bibliographic Citation
ASEAN Institute for Health Development Mahidol University
Suggested Citation
Bunpode Suwannachat, Jiraporn Chompikul, Aroonsri Mongkolchati, Boonyong Keiwkarnka, บรรพจน์ สุวรรณชาติ, จิราพร ชมพิกุล, อรุณศรี มงคลชาติ, บุญยง เกี่ยวการค้า Factors influencing the performance of village health posts in Kalasin Province, Thailand. ASEAN Institute for Health Development Mahidol University. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62136
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Factors influencing the performance of village health posts in Kalasin Province, Thailand
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานสุขศาลา ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
Other Contributor(s)
Abstract
A descriptive study was conducted to identify factors influencing the performance of village health posts
(VHPs) at Kalasin province, Thailand. Stratified sampling was used to randomly select a sample of 92 VHPs which
responded to the structured questionnaires. Chi-square tests and multiple logistic regression were used to examine
associations between independent variables and the performance of VHPs.
The response rate was 74.2%. Thirty-five VHPs (38 %) were categorized into the high level of the performance
and 57 VHPs (62 %) into the low level of the performance using the mean activities (3.58 visits per day) done by
each VHP as the cut-off point. In the Chi-square tests, community health group, community health fund, distance
from a VHP to a health center more than 3 kilometers, financial support for village health volunteers and
participation of community leaders in VHP execution were found to be significant association with the performance
of VHPs (p-value < 0.05). Multiple logistic regression revealing significant predictors for the performance of VHPs
composed of financial support for village health volunteers and participation of community leaders in VHP execution.
When controlling other factors, VHPs with financial support for health volunteers were 5.9 times more likely to
have the high level of the performance than those with no financial support. VHPs with high level of community
leader participation in execution of VHPs was 10.2 times more likely to have the high level of the performance
than those with the low level of participation.
The findings of this study suggest that providing of financial support for village health volunteers and
promotion of community leader participation in VHP execution can boost the performance of VHPs.
การศึกษาแบบพรรณนานี้ทำเพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสุขศาลาในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้สุขศาลา 92 แห่งที่ตอบแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้การทดสอบ ไคสแควร์และการถดถอยลอจิสติกพหุคูณ อัตราการตอบกลับแบบสอบถามเป็น 74.2% การศึกษา พบว่า การให้บริการเฉลี่ยต่อวันของสุขศาลาเท่ากับ 3.58 ครั้ง สุขศาลา 35 แห่ง (38%) จัดเป็นสุขศาลาที่มีผลการดำเนินงานสูง 57 แห่ง (62%) ถูกจัดให้เป็นสุขศาลาที่มีผลการดำเนินต่ำโดยใช้ค่าเฉลี่ยการให้บริการเป็นเกณฑ์ ผลการทดสอบไคสแควร์พบว่า การมีกลุ่มหรือชมรมด้านสุขภาพในชุมชน การได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการสุขภาพ ระยะทางจากสุขศาลาไปโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลมากกว่า3 กิโลเมตร การได้รับค่าตอบแทนสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขและการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการดำเนินงานของสุขศาลามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลการดำเนินงานของสุขศาลา ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก ปัจจัยที่สามารถทำนายผลการดำเนินงานของสุขศาลา ประกอบด้วย การได้รับค่าตอบแทนสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขและการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการ ดำเนินงานของสุขศาลา โดยสุขศาลาที่ได้รับค่าตอบแทนในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีโอกาส 5.9 เท่า ที่จะมีผลการดำเนินสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุน และสุขศาลาที่ผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากมีโอกาส 10.2 เท่า ที่จะมีผลการดำเนินงานสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีส่วนร่วมน้อย การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าควรสนับสนุนค่าตอบแทนแก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการทำงานในสุขศาลาและการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการดำเนินงานของสุขศาลา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมผลการดำเนินงานของสุขศาลาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้
การศึกษาแบบพรรณนานี้ทำเพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสุขศาลาในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้สุขศาลา 92 แห่งที่ตอบแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้การทดสอบ ไคสแควร์และการถดถอยลอจิสติกพหุคูณ อัตราการตอบกลับแบบสอบถามเป็น 74.2% การศึกษา พบว่า การให้บริการเฉลี่ยต่อวันของสุขศาลาเท่ากับ 3.58 ครั้ง สุขศาลา 35 แห่ง (38%) จัดเป็นสุขศาลาที่มีผลการดำเนินงานสูง 57 แห่ง (62%) ถูกจัดให้เป็นสุขศาลาที่มีผลการดำเนินต่ำโดยใช้ค่าเฉลี่ยการให้บริการเป็นเกณฑ์ ผลการทดสอบไคสแควร์พบว่า การมีกลุ่มหรือชมรมด้านสุขภาพในชุมชน การได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการสุขภาพ ระยะทางจากสุขศาลาไปโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลมากกว่า3 กิโลเมตร การได้รับค่าตอบแทนสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขและการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการดำเนินงานของสุขศาลามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลการดำเนินงานของสุขศาลา ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก ปัจจัยที่สามารถทำนายผลการดำเนินงานของสุขศาลา ประกอบด้วย การได้รับค่าตอบแทนสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขและการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการ ดำเนินงานของสุขศาลา โดยสุขศาลาที่ได้รับค่าตอบแทนในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีโอกาส 5.9 เท่า ที่จะมีผลการดำเนินสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุน และสุขศาลาที่ผู้นำชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากมีโอกาส 10.2 เท่า ที่จะมีผลการดำเนินงานสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีส่วนร่วมน้อย การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าควรสนับสนุนค่าตอบแทนแก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการทำงานในสุขศาลาและการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการดำเนินงานของสุขศาลา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมผลการดำเนินงานของสุขศาลาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้