Publication: The Role of Visual Pedagogies in Enhancing Corrporation to Professional Prophylaxis Fluoride of Children with Mild Autism at Yuwaprasart Waithayopathum Hospital
Issued Date
2015
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Department of Pediatric Dentistry Faculty of Dentistry Mahidol University
Department of Communication Sciences and Disorders Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Department of Communication Sciences and Disorders Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 38, No. 2 (Apr-Jun 2015), 142-153
Suggested Citation
Paweelada Khoomyat, Pareyaasiri Witoonchart, ปวีร์ลดา คุ้มญาติ, ปรียาสิริ วิฑูรชาติ The Role of Visual Pedagogies in Enhancing Corrporation to Professional Prophylaxis Fluoride of Children with Mild Autism at Yuwaprasart Waithayopathum Hospital. Ramathibodi Medical Journal. Vol. 38, No. 2 (Apr-Jun 2015), 142-153. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79631
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
The Role of Visual Pedagogies in Enhancing Corrporation to Professional Prophylaxis Fluoride of Children with Mild Autism at Yuwaprasart Waithayopathum Hospital
Alternative Title(s)
บทบาทของการใช้รูปภาพช่วยสื่อสารเพื่อเพิ่มความร่วมมือในกระบวนการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ในผู้ป่วยออทิสติกระดับความรุนแรงน้อย ณ โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์
Abstract
This study was amied to evaluate the role of visual pedagogies on enhancing cooperation in simple dental procedures as professional prophylaxis fluoride (PPF) of children with autism. Twenty children with mild autism, aged range 6-10 years old; in the 4th ward of Yuwaprasert Waithayopathum Hospital who never had dental treatment were oral examined. Tell-Show-Do (TSD) technique was used to manage their behavior. The children were randomly divided into 2 groups: visual pedagogy (VP) and control (C) group. The PPF procedures will be performed in next 7 days appointment for the C group and only TSD technique were used. For the VP group, 2 days before the next appointment, each child will be prepared for PPF procedure by VP training, which composed of equipments and steps in PPF procedures for once a day and the training time use was recorded. PPF procedures was schedules in the next day, that the dentist used TSD technique and the same VP album to communicate with the VP group. Every visit each childs behavior was recorded in the VDO tape. The tape was replayed to two independent observers for rating the child cooperation according to Melamed’s Behavior Profile Rating Scale. The VP group had increased positive behavior 90% while the C group had 10%. The VP group was significantly more positive behavior than the C group (P > 0.05). The VP decreased timimg in the second visit for training VP from the first time.
การวิจัยครั้งนี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้สมุดภาพในการสื่อสารกับผู้ป่วยออทิสติกประจำหอผู้ป่วยใน 4 โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์อายุ 6 - 10 ปี ที่มีความรุนแรงของโรคระดับน้อยและไม่เคยรับการรักษาทางทันตกรรมมาก่อน จำนวน 20 ราย ทำการตรวจช่องปากผู้ป่วยทุกคนโดยปรับพฤติกรรมด้วยวิธีบอก-แสดง-ทำ จากนั้นสุ่มจับฉลากแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม เท่าๆ กัน คือ กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจะได้รับการนัดหมายขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ หลังจากตรวจช่องปากไปแล้ว 7 วัน และปรับพฤติกรรมด้วยวิธีบอก-แสดง-ทำเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาก่อนวันนัดหมายขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ 2 วัน จะได้รับการสอนจากเจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วยด้วยรูปวาดอุปกรณ์และขั้นตอนการขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ พร้อมบันทึกเวลาที่ใช้ในการสอนโดยสอนวันละ 1 ครั้ง ในวันที่ทำการขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ทันตแพทย์จะนำรูปภาพชุดเดียวกันมาช่วยสื่อสารกับผู้ป่วยขณะรักษา โดยในแต่ละครั้งของการนัดหมายมีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อให้ทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก 2 ท่าน ที่ไม่ได้ทำการรักษาทำการประเมินพฤติกรรมตามเกณฑ์ความร่วมมือของ Melamed’s behavior profile rating scale พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มศึกษามีพฤติกรรมในทางที่ดีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมในทางที่ดีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 10 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มพบว่า กลุ่มศึกษามีพฤติกรรมของการขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ในทางที่ดีเพิ่มขึ้นจากการตรวจช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาทุกคนใช้เวลาในการเรียนรูปภาพน้อยลงจากการเรียนครั้งแรก
การวิจัยครั้งนี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้สมุดภาพในการสื่อสารกับผู้ป่วยออทิสติกประจำหอผู้ป่วยใน 4 โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์อายุ 6 - 10 ปี ที่มีความรุนแรงของโรคระดับน้อยและไม่เคยรับการรักษาทางทันตกรรมมาก่อน จำนวน 20 ราย ทำการตรวจช่องปากผู้ป่วยทุกคนโดยปรับพฤติกรรมด้วยวิธีบอก-แสดง-ทำ จากนั้นสุ่มจับฉลากแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม เท่าๆ กัน คือ กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจะได้รับการนัดหมายขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ หลังจากตรวจช่องปากไปแล้ว 7 วัน และปรับพฤติกรรมด้วยวิธีบอก-แสดง-ทำเพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาก่อนวันนัดหมายขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ 2 วัน จะได้รับการสอนจากเจ้าหน้าที่ประจำหอผู้ป่วยด้วยรูปวาดอุปกรณ์และขั้นตอนการขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ พร้อมบันทึกเวลาที่ใช้ในการสอนโดยสอนวันละ 1 ครั้ง ในวันที่ทำการขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ทันตแพทย์จะนำรูปภาพชุดเดียวกันมาช่วยสื่อสารกับผู้ป่วยขณะรักษา โดยในแต่ละครั้งของการนัดหมายมีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อให้ทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก 2 ท่าน ที่ไม่ได้ทำการรักษาทำการประเมินพฤติกรรมตามเกณฑ์ความร่วมมือของ Melamed’s behavior profile rating scale พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มศึกษามีพฤติกรรมในทางที่ดีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมในทางที่ดีเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 10 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มพบว่า กลุ่มศึกษามีพฤติกรรมของการขัดฟันเคลือบฟลูออไรด์ในทางที่ดีเพิ่มขึ้นจากการตรวจช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และผู้ป่วยในกลุ่มศึกษาทุกคนใช้เวลาในการเรียนรูปภาพน้อยลงจากการเรียนครั้งแรก