Publication:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันภายใน 6 เดือนแรกหลังทำการผ่าตัดเพิ่มการไหลเวียนของเลือดแดงส่วนปลาย

dc.contributor.authorลัดดาวัลย์ นามโยธาen_US
dc.contributor.authorสุพร ดนัยดุษฎีกุลen_US
dc.contributor.authorเกศศิริ วงษ์คงคำen_US
dc.contributor.authorชุมพล ว่องวานิชen_US
dc.contributor.authorLaddawan Namyothaen_US
dc.contributor.authorSuporn Danaidutsadeekulen_US
dc.contributor.authorKessiri Wongkongkamen_US
dc.contributor.authorChumpol Wongwaniten_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2021-04-20T03:30:33Z
dc.date.available2021-04-20T03:30:33Z
dc.date.created2564-04-20
dc.date.issued2564
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับความปวด ระยะเวลาหลังการผ่าตัด และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล กับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันหลังได้รับการผ่าตัดเพิ่มการไหลเวียนของเลือดแดงส่วนปลาย ในระยะ 6 เดือนแรก รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงความสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันและได้รับการผ่าตัดเพิ่มการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ในระยะ 6 เดือนแรก อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 82 ราย ในขณะรอรับการตรวจที่หน่วยตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินคุณภาพชีวิต 3) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการจัดการตนเอง 4) แบบประเมินระดับความปวด 5) แบบบันทึกระยะเวลาหลังการผ่าตัด และ 6) แบบบันทึกจำนวนวันนอนโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการจัดการตนเองและระยะเวลาหลังการผ่าตัด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิต (rs = .64, p < .01 และ rs = .39, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนระดับความปวดและจำนวนวันนอนโรงพยาบาล มีความสัมพันธ์เชิงลบกับคุณภาพชีวิต (rs = - .80, p < .01 และ rs = - .40, p < .01 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันหลังผ่าตัดเพิ่มการไหลเวียนหลอดเลือดส่วนปลายควรมีการดูแลจัดการอาการปวดอย่างเพียงพอ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล และมีการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีen_US
dc.description.abstractPurpose: The study aimed to examine the relationships between self-management behavior, pain, postoperative period, length of stay, and quality of life among patients after revascularization of peripheral artery disease within 6 months. Design: Correlational study. Methods: The study sample included 82 patients aged 18 years or over after revascularization of peripheral artery disease within 6 months. Convenience sampling was used during their following-up at the out-patient department at a tertiary hospital. The questionnaires included personal information questionnaire, the SF36 health survey questionnaire, the self-management behavior questionnaire, the pain visual analog scale, the postoperative period record, and the length of stay record. Data were analyzed using descriptive statistics, and Spearman correlation. Main finding: The study findings also showed that the self-management behavior and the postoperative period were positively related to the quality of life (rs = .64, p < .01; and rs = .39, p < .01, respectively). Pain and length of stay were negatively related to the quality of life (rs = - .80, p < .01; and rs = - .40, p < .01, respectively) Conclusion and recommendations: To enhance quality of life of patients with peripheral artery disease after revascularization nurses should include pain management in their care, accelerate the recovery phase to reduce the length of stay, and promote self-care behaviors when returning home.en_US
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 39, ฉบับที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2564), 64-76en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/61985
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectจำนวนวันนอนโรงพยาบาลen_US
dc.subjectระดับความปวดen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectพฤติกรรมการจัดการตนเองen_US
dc.subjectlength of stayen_US
dc.subjectpainen_US
dc.subjectperipheral arterial diseaseen_US
dc.subjectquality of lifeen_US
dc.subjectself-management behavioren_US
dc.subjectวารสารพยาบาลศาสตร์en_US
dc.subjectJournal of Nursing Scienceen_US
dc.subjectNursing Science Journal of Thailanden_US
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันภายใน 6 เดือนแรกหลังทำการผ่าตัดเพิ่มการไหลเวียนของเลือดแดงส่วนปลายen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Quality of Life among Patients after Revascularization of Peripheral Artery Disease within 6 Monthsen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication
mods.location.urlhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/244703

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ns-ar-suporn-2563.pdf
Size:
640.1 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections