Publication: Imaging of Infectious Spondylitis
Issued Date
2017
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Department of Diagnostic and Therapeutic Radiology Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University,
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 40, No. 1 (Jan-Mar 2017), 51-66
Suggested Citation
Theeraphol Panyaping, ธีรพล ปัญญาปิง Imaging of Infectious Spondylitis. Ramathibodi Medical Journal. Vol. 40, No. 1 (Jan-Mar 2017), 51-66. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79573
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Imaging of Infectious Spondylitis
Alternative Title(s)
ภาพวินิจฉัยทางรังสีของภาวะการติดเชื้อในกระดูกสันหลัง
Author(s)
Abstract
Infectious spondylitis is a common disease and increasing in incidence, which may be a primary spinal infection or secondary to a systemic infection. Because many spinal infections are life-threatening, early diagnosis leads to improved outcomes. Nowadays, imaging plays an important role in the diagnosis and follow up of these potentially life-threatening conditions. MR is the imaging modality of choice for patientswith suspected spinal infection. Common causes of infectious spondylitis that were focus on this review article are pyogenic and tuberculous spondylitis. Pyogenic spondylodiscitis should be considered, when there is increased T2- weighted signal and/or enhancement in the disc and subchondral regions of adjacent vertebral bodies. Spinal epidural and subdural abscesses generally accompany pyogenic spondylodiscitis. MRI is critical in diagnosing both spinal epidural and subdural abscesses, which need to be treated with emergent surgery. Tuberculous spondylitis shows characteristic imaging findings including disc space sparing, subligamentous spread, and large paraspinal abscesses. Fungal spondylitis is a rare disease found in immunocompromised patients and has a nonspecific imaging appearance. Therefore, the diagnosis of infectious spondylitis should be made of radiographic abnormality with clinical correlation.
ภาวะการติดเชื้อในกระดูกสันหลังเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีอุบัติการณ์สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุเป็นทั้งได้จากการติดเชื้อแรกเริ่มที่กระดูกสันหลังหรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากภาวะนี้มีความอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โดยเฉพาะถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาล่าช้า ดังนั้นในปัจจุบันการตรวจด้วยภาพทางรังสีโดยเฉพาะการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยวินิจฉัยภาวะนี้ให้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยสาเหตุที่พบบ่อยของการติดเชื้อมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียและวัณโรคซึ่งจะพบความผิดปกติของภาพรังสีที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ในภาวะติดเชื้อในกระดูกสันหลังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้นส่วนใหญ่จะพบว่ามีความผิดปกติทางรังสีที่หมอนรองกระดูกสันหลังและขอบกระดูกสันหลังที่อยู่ติดกันตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นอกจากนี้ยังสามารถให้การวินิจฉัยการเกิดฝีหนองใต้เยื่อหุ้มกระดูกสันหลังซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบร่วมได้บ่อยและต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดระบายหนองออกโดยเร็ว ในขณะที่การติดเชื้อในกระดูกสันหลังที่เกิดจากเชื้อวัณโรคนั้นส่วนใหญ่จะพบว่ามีความผิดปกติทางรังสีที่เป็นลักษณะเฉพาะได้แก่ ไม่พบความผิดปกติทางรังสีที่หมอนรองกระดูกสันหลังในระยะเริ่มแรก, มีการติดเชื้อลุกลามไปตามชั้นใต้เยื่อหุ้มกระดูกสันหลัง และมักพบฝีหนองขนาดใหญ่ที่บริเวณด้านข้างกระดูกสันหลังที่ติดเชื้อ ส่วนการติดเชื้อในกระดูกสันหลังที่เกิดจากเชื้อรานั้นเป็นโรคที่พบไม่บ่อยมักเจอในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำโดยจะพบความผิดปกติของภาพรังสีที่มีลักษณะไม่จำเพาะทำให้ยากต่อการวินิจฉัย ดังนั้นในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระดูกสันหลังทุกรายจำเป็นต้องอาศัยความผิดปกติของภาพวินิจฉัยทางรังสีร่วมกับข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยมาประกอบกัน
ภาวะการติดเชื้อในกระดูกสันหลังเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีอุบัติการณ์สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุเป็นทั้งได้จากการติดเชื้อแรกเริ่มที่กระดูกสันหลังหรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากภาวะนี้มีความอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โดยเฉพาะถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาล่าช้า ดังนั้นในปัจจุบันการตรวจด้วยภาพทางรังสีโดยเฉพาะการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยวินิจฉัยภาวะนี้ให้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยสาเหตุที่พบบ่อยของการติดเชื้อมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียและวัณโรคซึ่งจะพบความผิดปกติของภาพรังสีที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ในภาวะติดเชื้อในกระดูกสันหลังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้นส่วนใหญ่จะพบว่ามีความผิดปกติทางรังสีที่หมอนรองกระดูกสันหลังและขอบกระดูกสันหลังที่อยู่ติดกันตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นอกจากนี้ยังสามารถให้การวินิจฉัยการเกิดฝีหนองใต้เยื่อหุ้มกระดูกสันหลังซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบร่วมได้บ่อยและต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดระบายหนองออกโดยเร็ว ในขณะที่การติดเชื้อในกระดูกสันหลังที่เกิดจากเชื้อวัณโรคนั้นส่วนใหญ่จะพบว่ามีความผิดปกติทางรังสีที่เป็นลักษณะเฉพาะได้แก่ ไม่พบความผิดปกติทางรังสีที่หมอนรองกระดูกสันหลังในระยะเริ่มแรก, มีการติดเชื้อลุกลามไปตามชั้นใต้เยื่อหุ้มกระดูกสันหลัง และมักพบฝีหนองขนาดใหญ่ที่บริเวณด้านข้างกระดูกสันหลังที่ติดเชื้อ ส่วนการติดเชื้อในกระดูกสันหลังที่เกิดจากเชื้อรานั้นเป็นโรคที่พบไม่บ่อยมักเจอในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำโดยจะพบความผิดปกติของภาพรังสีที่มีลักษณะไม่จำเพาะทำให้ยากต่อการวินิจฉัย ดังนั้นในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระดูกสันหลังทุกรายจำเป็นต้องอาศัยความผิดปกติของภาพวินิจฉัยทางรังสีร่วมกับข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยมาประกอบกัน