Publication: ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติและได้รับการอ้างอิงของ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Issued Date
2558
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 103-111
Suggested Citation
ธนารีย์ บัวเผื่อน, มุกดาลักษณ์ บุญทรง, ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติและได้รับการอ้างอิงของ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 103-111. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/54091
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติและได้รับการอ้างอิงของ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Alternative Title(s)
International Publications and Cited References of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
Other Contributor(s)
Abstract
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นนำในระดับสากลและเป็นประทีปส่องทางด้านสุขภาพของประเทศ ซึ่งต้องดำเนินงานใน 3 พันธกิจหลัก ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านการวิจัย และด้านการบริการสุขภาพ โดยเน้นการวิจัยเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่และจำเป็นจะต้องเป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติและได้รับการอ้างอิง ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลงานวิจัยของคณะฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติและได้รับการอ้างอิง จากฐานข้อมูล Scopus โดยทำการศึกษาย้อนหลัง 3 ปีในระหว่างปี พ.ศ.2555 – 2557 พบว่าจากผลงานวิจัยทั้งหมด 782 เรื่อง มีผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง 449 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 57.4 ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง 4 ครั้ง และมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้ง เท่ากับร้อยละ 18.4, 10.1, 5.0, 6.5 และ 17.4 ตามลำดับ และเมื่อทำการจัดกลุ่มเปรียบเทียบตามภาควิชาต่างๆ พบว่า ภาควิชาฯ ที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 57.4 ได้แก่ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 70.6 ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คิดเป็นร้อยละ 64.5 ภาควิชาพยาธิวิทยา คิดเป็นร้อยละ 63.3 ภาควิชาอายุรศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 62.3 และภาควิชาจักษุวิทยา คิดเป็นร้อยละ 59.1 และเมื่อวิเคราะห์ถึงผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงตามระบบอวัยวะที่เกิดโรคหรือสาเหตุของโรคพบว่า ผลงานวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้รับการอ้างอิง ร้อยละ 13.1 ระบบต่อมไร้ท่อ ร้อยละ 11.8 โรคเลือดธาลัสสีเมียและฮีโมฟิเลีย ร้อยละ 9.6 โรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ ร้อยละ 8.5 และเป็นโรคหายาก ร้อยละ 7.6 เป็นต้น
ดังนั้น ในการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของคณะฯ ให้ได้รับการอ้างอิงเพิ่มขึ้นนั้นจำเป็นที่จะต้องให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานระหว่างภาควิชา จากภาควิชาที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงสูงร่วมกับการทำงานเชิงรุกให้มีการวิจัยมุ่งเป้าเฉพาะโรคที่อาจารย์ของคณะฯ มีความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะทางโดยเฉพาะกลุ่มโรคมะเร็ง โรคของระบบต่อมไร้ท่อ โรคเลือดธาลัสสีเมียและฮีโมฟิเลีย โรคติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ และโรคหายาก ก็จะทำให้คณะฯ บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ต่อไป
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University has a vision to be a leading faculty at the international level and also the guiding light for the health of the country. The objective of this study was to analyze the cited references of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital by using SCOPUS database for data collection and analysis This study was conducted at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital between 2012-2014. There were a total of 782 international publications and 449 references were cited which was 57.4%. The references were cited 1,2,3,4 and 5 times at 18.4%, 10.1%, 5.0%, 6.5% and 17.4%, respectively. Comparing cited references from various department of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, the research that the department which had cited references above the mean of the Faculty were Community Medicine 70.6%, Obstetrics and Gynecology 4.5%, Pathology 63.3%, Medicine 62.3% and EYE 59.1%. When analyzed organ affected and causes of diseases, the research found that cited references were in group of Malignancy 13.1%, Endocrine 11.8%, Thalassemia and Hemophilia 9.6%, HIV and AIDs 8.5% and Rare diseases 7.6%. A way to improve high quality research with cited references, is lessons learned from the department that had high cited references. In addition, the research done at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital should be focused on the strength of the faculty staff’ such as Malignancy, Endocrine disorder, Thalassemia, Hemophilia, HIV and AIDs and rare diseases. The target and vision of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital should be reached accordingly.
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University has a vision to be a leading faculty at the international level and also the guiding light for the health of the country. The objective of this study was to analyze the cited references of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital by using SCOPUS database for data collection and analysis This study was conducted at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital between 2012-2014. There were a total of 782 international publications and 449 references were cited which was 57.4%. The references were cited 1,2,3,4 and 5 times at 18.4%, 10.1%, 5.0%, 6.5% and 17.4%, respectively. Comparing cited references from various department of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, the research that the department which had cited references above the mean of the Faculty were Community Medicine 70.6%, Obstetrics and Gynecology 4.5%, Pathology 63.3%, Medicine 62.3% and EYE 59.1%. When analyzed organ affected and causes of diseases, the research found that cited references were in group of Malignancy 13.1%, Endocrine 11.8%, Thalassemia and Hemophilia 9.6%, HIV and AIDs 8.5% and Rare diseases 7.6%. A way to improve high quality research with cited references, is lessons learned from the department that had high cited references. In addition, the research done at the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital should be focused on the strength of the faculty staff’ such as Malignancy, Endocrine disorder, Thalassemia, Hemophilia, HIV and AIDs and rare diseases. The target and vision of the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital should be reached accordingly.